หน้าแรก หน้ารวมบทความ กุญแจ 5 ดอกไขความสำเร็จการนำเสนอ (Five keys to a winning pitch)

กุญแจ 5 ดอกไขความสำเร็จการนำเสนอ (Five keys to a winning pitch)


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 612 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

        ลองนึกดูว่าก่อนที่นางงามระดับโลกหนึ่งคนประสบความสำเร็จจากการได้รับตำแหน่ง สวยอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องมีเสน่ห์ชวนมอง แฟนคลับติดตามผ่านช่องทางออนไลน์เยอะๆ  ทุกคนหมั่นฝึกฝนทักษะการเดินโชว์ ฝึกพูดให้กินใจพูดอย่างไรให้ทัช(Touch)ใจคนฟัง ฝึกการแต่งกายแต่งหน้า ฝึกบุคลิกภาพท่าทางการสื่อสารอย่างหนัก พี่เลี้ยงนางงามต้องหาตัวตนนางงามให้เจอสร้าง Personal Brand ให้นางงาม ทุกความสำเร็จไม่ได้มาด้วยโชคช่วยง่ายๆ ต้องอาศัยการฝึกฝน สั่งสมประสบการณ์

     หนึ่งในการฝึกฝน ที่ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จสายงานอาชีพนั้นๆคือฝึกการ ใช้ศิลปะการนำเสนอ ที่ยอดเยี่ยม เพื่อให้ผลงานเข้าตาถูกจริตผู้รับฟัง ซึ่งไม่ยากอย่างที่คิด ลองใช้กุญแจ 5 ดอกนี้ไขความสำเร็จในการเตรียมงานที่คุณทุ่มเทมาตลอดโปรเจคหรือเตรียมงานหลายวัน ใครๆก็ประสบความสำเร็จได้ถ้าหมั่นฝึกฝนทบทวน

     กุญแจ 5 ดอก นี้ คือ  P T- C P S 

     1. Personality คือการเตรียมบุคลิกภาพตัวผู้นำเสนอก่อนเปิดเรื่องสนทนา

     : ทั้งทรงผม สีผม การแต่งกายลักษณะเสื้อผ้าเนื้อผ้าที่เลือกสวมใส่วันนั้น โทนสีเสื้อผ้าที่สวมใส่ในการนำเสนอแต่ละงาน(ส่วนสายมูเลือกใส่สีตามความโชคดี ความสำเร็จ ผู้ใหญ่เมตตาแต่ละวัน อันนี้ตามสะดวกแต่ละท่านได้เลย ) สีนั้นเลือกตามงานไม่เหมือนกัน บางงานเป็นทางการไม่ควรเลือกสีฉูดฉาดแต่เน้นแนวสุขุม เรียบหรู สีที่ควรเลือกซื้อไว้ในตู้เสื้อผ้าคือ สีน้ำเงิน สีน้ำตาล สีครีม สีเขียวโทนเข้ม โทนสีแต่งหน้าสำหรับผู้หญิงเลือกแต่งให้เหมาะกับงานไม่ควรลงสีกลิสเตอร์แวววาวทั้งตาและแก้มกรณีงานทางการพบปะงานผู้ใหญ่อาวุโส ให้เลือกแต่งหน้าธรรมชาติหรือสีพาสเทลอ่อนๆ รองเท้าที่สวมใส่ เหล่านี้ช่วยส่งเสริมความโดดเด่นให้ชวนนั่งฟังมากขึ้น การนำเสนองานที่เป็นทางการควรสวมรองเท้าหนังมีส้นห้ามใส่รองเท้ากีฬา

       ดังนั้นผู้นำเสนอต้องรู้พื้นฐานบุคลิกภาพตัวเอง แบบไหนที่เหมาะกับคุณ ใส่แบบไหนมั่นใจในวันสำคัญ เป็นคนหุ่นทรงแบบไหนใน 6 บุคลิกภาพ (หุ่นทรงตรง หุ่นทรงลูกแพร์ หุ่นทรงสามเหลี่ยมคว่ำ หุ่นทรงนาฬิกาทราย หุ่นทรงเพชรและหุ่นทรงกลม)

     2. Team คือทำอย่างไรให้มีความเป็นทีมเดียวกัน ทั้งผู้ร่วมนำเสนอ ผู้รับฟัง

        : ทั่วไปในการนำเสนอผลงานคนมักมองข้ามจุดนี้ ทำอย่างไรให้คุณผู้ที่เสมือนคนแปลกหน้าหรือตำแหน่งผู้ใต้บังคับบัญชา ให้หัวหน้า ให้อาจารย์ฟังสนใจอย่างเป็นมิตรเหมือนประหนึ่งคุณคือทีมเดียวกับพวกเขา พื้นฐานง่ายๆ คือการไหว้ทักทายด้วยท่าที่ถูกต้อง เช่นระดับการไหว้ผู้ใหญ่ผู้อาวุโสระดับการไหว้ลูกค้า ผู้รับบริการ 

        พร้อมประโยคทักทายอย่างเป็นทางการเช่น สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ ไม่แนะนำให้พูดต่อด้วยคำว่า “วันนี้จะมานำเสนอ…” คุณชินกับการใช้ประโยคนี้ในสมัยวัยเรียน Y2K ไปแล้ว เปลี่ยนเป็นประโยคนำเสนอคำคม ข้อคิด หลักการเหตุผล ข้อมูลปัญหาสำคัญที่เป็นปัญหาใหญ่ทำให้ต้องมีการเสนองานชิ้นนี้ เคล็ดลับการเกริ่นนำเพื่อให้ผู้รับฟังรู้สึกถึงความเป็นทีมเดียวกันคือ การเลือก Key Word คำพูดที่เน้นความเป็นทีม เช่น เราทุกคน,คุณคือส่วนหนึ่ง,คุณทำให้เกิดแรงบันดาลใจ,คุณเป็นคนสำคัญ เป็นต้น

     3. Continues คือ การนำเสนอมีความต่อเนื่อง

     : เมื่อเริ่มเปิดการนำเสนอทุกชิ้นงาน ทุกกิจกรรมประกอบต้องนำเสนอให้มีความต่อเนื่องเสมือนนำเสนอละครน้ำดีน่าดูน่าติดตามไม่ทำให้ผลงานเป็นจอดำชั่วขณะ ควรลำดับเสนองานมาอย่างดีทั้งภาพเสียง แบ่งจังหวะเปิดการพูดแต่ละช่วงให้กะทัดรัด น่าสนใจ หมั่นทบทวนฝึกนำเสนอก่อนงานจริงบ่อยๆ ยิ่งนำเสนอมากกว่า 5 ครั้ง ยิ่งทำให้คุณมีความมั่นใจมากขึ้นทวีคูณ เหตุกาณ์ไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นได้ ในช่วงที่ใช้อุปกรณ์ประกอบที่หลากหลาย หากช่วงใดมีจังหวะลืมหรืออุปกรณ์โน้ตบุ๊คมีปัญหาให้คุณแก้ไขสถานการณ์โดยการสบตาสื่อสารขอประทานโทษกับผู้ฟังขณะแก้ไขอย่างจริงใจ ส่งเอกสารให้ผู้ฟังศึกษาในหัวข้อที่นำเสนออยู่เพื่อชะลอเวลาระหว่างแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ในทุกครั้งการนำเสนอคุณต้องมีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ทางการเชื่อมต่อ เอกสารแบบ Hard Copy ประกอบการศึกษาแบบ “กันไว้ดีกว่าแก้”

     4. Purpose คือ การนำเสนอช่วงเนื้อหาตรงวัตถุประสงค์หรือตรงเป้าหมาย

      : ต้องปล่อยหมัดเด็ดช่วงนี้ล่ะคุณผู้อ่าน หลักการนำเสนอในช่วงเนื้อหาคล้ายกับกราฟแผนภูมิแท่งค่อยๆ เพิ่มดีกรีเนื้อหาทีละน้อยกระทั่งกราฟแท่งสุดท้ายคือจุดสูงสุดของคำตอบ ถ้าเปิดเรื่องมาแล้วจู่โจมพูดๆไปให้หมดเปลือก คงไม่มีอะไรนำเสนอต่อกลายเป็นพูดเพื่อยื้อเวลา หรืออีกนัยหนึ่งคือหากเวลาเหลือผู้ฟัง กรรมการผู้ให้คะแนนจะยิงคำถามมาถาโถมสารพัด ยิ่งมือใหม่ย่อมตื่นเต้นง่าย ทำให้การนำเสนอไม่น่าประทับใจเท่าให้คนฟังเคลิบเคลิ้มไปกับการนำเสนอจากคุณแบบไม่อยากให้จบซีรีย์เกาหลีเรื่องนี้ ช่วงนำเสนอนี้ไม่ควรใช้เวลานานมากเกิน 5-10 นาทีแต่ทุกประโยคที่นำเสนอต้องมีคำหรือข้อความที่สะกิดใจผู้ฟัง ให้เห็นถึงหลักการ เหตุผล ที่ดีเลิศแตกต่างจากผู้อื่นเพราะอะไร

     5. Story คือ เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ ไม่ซ้ำแบบใคร มีที่มาอิงข้อมูลในอดีต ข้อมูลใหม่

     : หลักการข้อนี้คือเรื่องราวที่นำเสนอเป็นเรื่องที่น่าสนใจ 3 ข้อ (Three story Building) แปลกใหม่ –  ขับเคลื่อน  - เปลี่ยนแปลง  ทำให้การนำเสนอ การPitchงานน่าสนใจมาก สิ่งที่นำเสนอสามารถทำให้เกิดความ แปลกใหม่ ในวงการดนตรีอย่างไร? นวัตกรรมทำให้เกิดการ ขับเคลื่อน วัฒนธรรมองค์กรแค่ไหน? และโครงการนี้ เปลี่ยนแปลง ธุรกิจ SME อย่างไร ?

     หลักการนำเสนอข้างต้นไม่จำเป็นใช้เฉพาะในคนทำงานเท่านั้น แต่นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปเป็นทักษะการเตรียมตัว การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน นำเสนอผลงานโครงการ หรือการนำเสนอผ่านรูปขายของแบบออนไลน์ 

       ทุกอาชีพต้องสร้างจุดขาย จุดเด่นในตนเอง ทำอย่างไรให้คนเข้ามาสนใจ คนฟังจำนวนมาก ได้รับการตอบรับโครงการจากภาครัฐ ภาคประชาชน จำไว้ว่าความท้าทายไม่ได้อยู่ที่คุณทำสำเร็จไปกี่ครั้ง ? แต่อยู่ที่คุณล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ได้แบบสง่างามเมื่อไร ? … ค่ะ 

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 13 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 612 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


บุคลิกภาพท่ายืนเดินนั่งที่สง่างาม

“อิริยาบถท่าทางที่สง่างามช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้ชวนมอง ไม่ว่าท่านทำงานในตำแหน่งใด ควรได้เรียนรู้พื้นฐาน 3 เรื่องนี้ไว้ทั้งการยืน เดิน นั่ง ซึ่งเป็นบุคลิกพื้นฐานที่ฝึกฝนให้ดูดีได้ไม่ยาก ”

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร

การบริการเชิงรุก (Proactive Service ) ทำอย่างไร?

การบริการเชิงรุกไม่ใช่การกระตือรือร้นการบริการหรือเสนอการบริการให้ลูกค้าก่อน แต่เป็นรูปแบบการวางระบบบริการไว้ล่วงหน้าด้วยเทคนิค “สร้าง Brand loyalty & Brand Personal” ทุกขั้นตอนตั้งแต่แรกรับ

กลยุทธ์ควบคุมมาตรฐานบริการ (Service Standard)

คนคือตัวแปรสำคัญส่งมอบและทำลายการบริการ พฤติกรรมการบริการไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ เมื่อผู้ให้บริการเปลี่ยนคน ความพึงพอใจผู้ได้รับบริการอาจเปลี่ยนไป ทำอย่างไร? ให้ควบคุมคุณภาพการบริการให้ดี พึงพอใจ

หลักการทำงานแบบ Teamwork

กิจกรรม OD อาจไม่ใช่การแก้ไขที่สาเหตุแบบยั่งยืนหรือไม่ ? เมื่อองค์กรพบปัญหาสมาชิกในองค์กรขาดความสามัคคีจึงมองหาการจัดกิจกรรม OD นอกสถานที่ ทั้งกิจกรรม Teamwork หรือกิจกรรม Teambuilding