หน้าแรก หน้ารวมบทความ นักสื่อสารที่ทรงพลังมีนิสัย 10 ข้อ

นักสื่อสารที่ทรงพลังมีนิสัย 10 ข้อ


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 16897 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     “หัวใจของการสื่อสารคือการส่งมอบ” นั่นหมายถึงทุกครั้งที่ท่านจะสื่อสารไม่ว่าช่องทางใด เท่ากับได้ส่งมอบของขวัญที่ล้ำค่าให้ผู้รับในวินาทีนั้น แต่หลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาอาจทำให้ใครบางคน พลาดโอกาสที่ดีที่สุดในการส่งมอบนั้นไปอย่างน่าเสียดาย

     คนพูดดีสื่อสารได้ใจความไม่จำเป็นคนเรียนเก่ง พูดเก่งเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับการเลือก เครื่องมือ (Tools) ในการสื่อสารได้ตรงใจตรงคนมากกว่า

     ผู้นำที่ทรงอิทธิพลขององค์กร ประเทศชาติ นานาประเทศจึงใช้โอกาสการสื่อสารสร้างสัมพันธภาพ การรับรู้ การเข้าใจด้วยการสื่อสารที่ทรงพลังส่งต่อสร้างมิตรภาพ แต่ผู้นำบางส่วนก็ใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือทำลายความศรัทธาเชื่อถือ เชือดเฉือน ติเตียนภูมิหลังผู้คน บ่อนทำลายความรู้สึกฝ่ายตรงกันข้ามอย่างไร้ “ภาวะผู้นำ” 

     หากท่านได้อ่านบทความนี้ถือเป็นโอกาสดี ได้เรียนรู้กลวิธีปรับนิสัยการสื่อสารให้ทรงพลังสร้างเสน่ห์ชวนมอง ไม่ว่าท่านอยู่ในการงานหน้าที่อาชีพระดับใด นักธุรกิจ ผู้จัดการ หัวหน้างาน  นักขาย พ่อค้า ครู เจ้าของกิจการ คุณคือ “นักสื่อสารที่ทรงพลัง”  ไม่ใช่เรื่องยาก !!

     How to The Effective Communication ?

     การสื่อสารที่ทรงพลังทำอย่างไรกัน ?

      คำตอบคือ  “สื่อสารเป็น” …

     สื่อสารเป็นหมายถึงเลือกใช้เทคนิคการสื่อสารทั้ง คำพูด ท่าทาง คุณลักษณะ ได้ตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดย ทุกๆการสื่อสารสนทนาให้ความสำคัญกับบุคคลที่สนทนาด้วยอย่างจริงใจ

     การส่งมอบทั้งรอยยิ้ม คำพูดการกระทำเกิดจากภายในสู่ภายนอก (Inner to Outer) 

     การสื่อสารจากภายในนั้นต้องแสดงมาจากพฤติพิสัย นิสัยและพฤติกรรมภายในของบุคคล เป็นทั้งพรสวรรค์และพรแสวงที่สามารถสร้างฝึกฝนได้ 

     นักสื่อสารที่ทรงพลังมีนิสัย 10 ข้อ ดังนี้ 

  1. เป็นนักอ่าน 

     ชอบอ่านชอบการศึกษาหาความรู้ในแขนงวิชาที่หลากหลาย  ไม่เลือกอ่านหนังสือเฉพาะเรื่องซุบซิบทางสังคม แวดวงบันเทิง ชอบอ่านประเภทเชิงสร้างสรรค์เช่น ประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ กีฬา พัฒนาความคิด พัฒนาตนเอง ความรู้ด้านภาษา เป็นต้น 

     ไม่จำกัดการเรียนรู้แค่ในห้องเรียน(Classroom learning) ชอบการอบรมสัมมนาเปิดมุมมอง ช่วยทำให้มีข้อมูลในการสื่อสารรอบด้าน สนทนาได้หลากหลายบุคคล มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สังเกตว่านักอ่านที่ดีมักจดบันทึกรายละเอียดข้อมูลที่พบเจอเสมอ

     2. จดจำชื่อได้

     สามารถจดจำชื่อผู้ที่สนทนาด้วยได้ไม่ว่าเวลาผ่านไปกี่ปี รวมถึงจดจำสิ่งแวดล้อมรอบตัว ชื่อบุคคลในครอบครัว ชื่อสัตว์เลี้ยง เมนูอาหารที่ชอบ ข้อนี้ถือเป็นเสน่ห์สำคัญให้ผู้สื่อสารน่าสนใจสร้างความประทับใจแก่คู่สนใจ Wow! Wow! 

     การจดจำจึงต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะในการจำบุคคล สิ่งแวดล้อม ถึงขนาดในต่างประเทศมีคอร์สอบรมสัมมนาเรื่อง เทคนิคการจดจำ เพราะความรู้ที่ได้รับใช้ในเชิงการสืบสวน การเรียนในมหาลัย การทำธุรกิจ บริการและโรงแรม 

     3. เริ่มต้นด้วยท่าทาง

หมายถึงการเริ่มต้นก่อนการสื่อสารทั้งทางตรงทางอ้อม ด้วยท่าทางเปิดรับก่อน เช่นคนไทยเมื่อรู้จักครั้งแรกทักทายโดยการสวัสดีหรือยกมือไหว้ตามระดับอาวุโส ส่วนคนต่างชาติทักทายโดยการจับมือหรือแนบแก้ม แต่ในกรณีที่ต้องสื่อสารท่ามกลางสาธารณะชนหมู่มาก ท่านจะสังเกตว่าการเปิดท่าทางทักทายเช่น ยิ้มกว้าง360องศา ยกมือข้างใดข้างหนึ่งผายกว้างออก ค้อมตัวเล็กน้อยทักทาย มือสองข้างกุมแนบบริเวณตำแหน่งหัวใจแนบทรวงอก เหล่านี้คือท่าทางเริ่มต้นให้ผู้ฟังรู้สึกผ่อนคลาย ผู้พูดเป็นมิตร

     4. เอาใจใส่รอบข้าง

     นักสนทนาระดับโลกเวลาขึ้นพูดบนเวที ลานสายตามองรอบข้างแบบ 360 องศา ทุกมุมที่มีผู้ฟังนั่งอยู่เพื่อส่งสัญญาณให้ผู้รับฟังทราบว่าเขาสนใจทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งการใช้ลานสายตามองนั้นไม่มองผู้ฟังด้วยหางตาหรือชายตามองแค่ครึ่งตา ให้ความใส่ใจมองตรงกลางด้านหน้าที่พูด มองด้านขวา มองด้านซ้าย และอาจเดินเคลื่อนที่ไปใกล้ผู้ฟังเพื่อลดช่องว่างระยะห่าง

      เว้นเสียแต่ในช่วง Social Distancing ที่ทุกคนต้องรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลมากกว่า 2 เมตร เป็นระยะปลอดภัยจากโควิด (Covid19)

     5. สนใจทุกคน

      นักสื่อสารที่ดีต้องสนใจผู้ฟังทุกคนที่อยู่รอบข้าง ให้ความสำคัญกับปฏิกิริยาการตอบสนองผู้ฟังรวมถึงการแสดงการยอมรับรับฟัง ต้องเตรียมข้อมูลการพูดเดาใจกลุ่มผู้ฟังก่อนว่าเขาต้องการอะไร เมื่อดำเนินการสนทนาไปได้ไม่เกิน 5 นาทีแรก ผู้สื่อสารที่ดีต้องสร้างจุดสนใจ(Key Points)ให้ได้เพื่อดึงดูดการนำเสนอ การฟังให้ครบประเด็น ดังนั้นการให้ความสนใจกับทุกคนไม่ได้หมายถึงการมองด้วยสายตา การสื่อสารถามตอบแต่รวมไปถึงการแปลความหมายบุคลิกภาพภายนอกภายในของผู้ฟังเพื่อนักสื่อสารจะได้แก้ไขตรงประเด็นที่ผู้ฟังกำลังสงสัยต้องการคำตอบ

     6. ชอบแสดงออก

การแสดงออกในที่นี้ไม่ใช่การโอ้อวด นำเสนอเฉพาะจุดที่ผู้สื่อสารต้องการนำเสนอ แต่หมายถึงการแสดงออกด้านความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ คำชี้แจงที่รวมไปถึงประสบการณ์ความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมานาน เพื่อแชร์องค์ความรู้แก่ผู้ร่วมสนทนาด้วย ข้อดีคือทำให้ผู้ร่วมสนทนาเกิดความเชื่อมั่นสร้างจุดสนใจ เรียกความศรัทธาได้ดี อีกทั้งเป็นการเชื่อมมิตรภาพในระยะยาว

     7. ตั้งคำถาม

     การตั้งคำถามนั้นไม่ได้ใช้เฉพาะให้ผู้ฟังที่สงสัยถาม แต่นักสื่อสารที่ดีต้องฝึกตั้งคำถามปลายเปิดชี้ชวนให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในการสนทนาเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปิดโอกาสด้านการพัฒนาความคิดเห็นแบบ “Growth Mindset”  โดยเฉลี่ยการสนทนากลุ่มใหญ่ระยะเวลาใน 1 ชั่วโมงไม่ควรถามคำถามเกิน 2 ข้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่สื่อสารด้วยว่าเป็นการสอนเชิงทดสอบความรู้หรือการกล่าวสุนทรพจน์ทั่วไป กรณีการสื่อสารในที่สาธารณะจะเน้นการโยนคำถามไปที่กลุ่มผู้ฟังไม่เกิน 2 คำถามต่อการกล่าวหนึ่งโอกาสกำลังเหมาะสมและไม่มากเกินไป

     การตั้งคำถามเน้นการแสดงความคิดเห็นร่วมกันไม่ได้ตัดสินการถูกผิด เว้นเสียแต่การถามในห้องอบรมบรรยายเพื่อประเมินความเข้าใจในประเด็นนโยบาย กลยุทธ์ที่สำคัญต่อองค์กรสามารถถามคำถามแบบปลายปิดได้เช่น ใช่หรือไม่ใช่ ถูกหรือผิด ข้อ1หรือข้อ2 เป็นต้น 

     8. ชื่นชมยินดี

    การชื่นชมคือศิลปะการพูดขนานหนึ่ง เสริมสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนการรับฟัง นักสื่อสารผู้พูดไม่ว่าการประชุมกลุ่มย่อย ประชุมองค์กร พูดในที่สาธารณะต้องรู้จักสร้างแรงจูงใจด้วยใจจริง ชื่นชมบุคคล สิ่งแวดล้อม สิ่งที่พบเจอในสถานการณ์นั้น เช่น ถนนหนทาง บรรยากาศรอบข้าง ผู้คนที่พบเจอ รอยยิ้มที่ได้รับ การต้อนรับที่อบอุ่น ผลการประเมินทดสอบ เป็นต้น 

     9. มีความยืดหยุ่น

    ในบางสถานการณ์นักพูดผู้สื่อสารอาจเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิดทำให้การสนทนาไม่เป็นไปตามเป้าหมายเช่น บรรยากาศในห้องสนทนาคับแคบ เครื่องเสียงไม่อำนวย ถูกตัดทอนเนื้อหาบางส่วน ผู้เข้าร่วมฟังจำนวนน้อยเดินสลับผลัดเปลี่ยนเข้าออกตลอดช่วงบ่ายเนื่องจากติดภาระหน้าที่งานในช่วงนั้น

    นักสื่อสารต้องยืดหยุ่นข้อมูลนำเสนอ การรวบข้อมูลให้กระชับชัดเจนขึ้นและหากเป็นประเด็นสำคัญให้นัดหมายการสนทนาเฉพาะกลุ่มอีกครั้งในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการนัดหมายอาจเป็นลักษณะประชุมกลุ่มออนไลน์ สนทนาทางโทรศัพท์ หรือส่งข้อมูลทาง E-Mail เป็นต้น 

     10. รักษาเวลา

     การรักษาเวลาเป็นหัวใจสำคัญในการพูด การพูดที่ดีต้องเตรียมเผื่อเวลาก่อนจบประเด็นไว้ 5-10 นาทีเพื่อตอบ-ถามคำถาม

     ให้ผู้พูดเตรียมข้อมูลการพูดในหนึ่งสถานการณ์นั้น แบ่งเป็น 3 ช่วง 

  • ช่วงแรก : พูดเกริ่นนำ (ใช้เวลา 5 นาทีแรก)
  • ช่วงที่ 2  : พูดเนื้อหา (อาจเสนอด้วยคำพูด วีดีโอภาพ แผนภาพประกอบPowerPoint)
  • ช่วงที่ 3  : สรุปประเด็น (สรุปเป็นภาพใหญ่ๆ อาจใช้ภาพหรือสัญลักษณ์เข้ามาช่วยการจดจำข้อมูลใช้เวลา 5 – 15 นาที)

    จงจำไว้ว่า นักสื่อสารที่ดีต้องมี 3 ช่วงเวลานำเสนอแบบ Present Like A Pro

     “ต้นเรื่องประทับใจ ตอนกลางได้ความรู้ ตอนท้ายอยู่ในใจไม่ลืม ”

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 16897 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

จิตวิทยาบริการ

หลัก “จิตวิทยาบริการ (Service Psychology)” ได้รับการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบุคลากรและทรัพยากรในภาคธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมภาคการบริการมาช้านาน การทำงานที่ต้องมีการติดต่อ สื่อสารส่งผ่านบุคคล

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด

แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

ทำ CBO แบบ AIDET แก้ปัญหาพฤติกรรมบริการ

การทำ CBO ช่วยพัฒนาแนวทางตามความสามารถได้จริงทุกภาคส่วนการทำงานไม่เฉพาะแต่งานบริการ เพราะการจัดทำ CBO(Competency -Based Orientation) แต่ละประเด็นมีต้นทางมาจากการวางกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กร