หน้าแรก หน้ารวมบทความ สถาบันราชประชาสมาสัยจัดตั้งขึ้น ?

สถาบันราชประชาสมาสัยจัดตั้งขึ้น ?


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 395 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     ผู้ป่วย เกิดความทุกข์ทรมานทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ เสียความเชื่อมั่นตนเอง รวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคม ถูกแบ่งแยกจากกลุ่มอย่างเด่นชัด การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยยากลำบาก ไม่เป็นที่ยอมรับจากเพื่อน ที่ทำงานและสังคม บางคนไม่ไปทำการรักษากลัวที่ทำงานรู้ กลัวถูกรังเกียจ กลัวการถูกไล่ออกจากงาน นี่คือปัญหาส่วนหนึ่งของผู้ป่วยโรคเรื้อน … 


      โรคเรื้อน (Leprosy) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียตระกูลเดียวกับวัณโรค เป็นโรคที่เกิดบริเวณผิวหนังและเส้นประสาทส่วนปลาย สามารถเกิดโรคในคนหรือในสัตว์บางชนิด เช่น ลิง แต่อาการไม่รุนแรงเฉียบพลันจนทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย มีอาการลุกลามอย่างช้า ๆ ในระยะหลัง ทำให้เกิดความพิการ การกุด การหงิกที่ มือ เท้า ใบหน้า และใบหู ทำให้เป็นที่รังเกียจแก่คนทั่วไป ในบางรายที่คนในครอบครัวเป็นโรคเรื้อน มีโอกาสผู้คลุกคลี อาจติดเชื้อได้ทางการไอ จามรดกัน หรือในบางรายที่มีอาการหนักมากมีเชื้อตามโพรงจมูก 
      ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงตระหนัก ห่วงใยและใส่ใจให้สำคัญกับผสกนิกรที่เกิดภาวะความเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ จึงมีโครงการในพระราชดำริขึ้น โดยจัดตั้งสถาบันราชประชาสมาสัย ในปี พ.ศ.2499 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินทุนอานันทมหิดล แก่กระทรวงสาธารณสุข สร้างอาคารภายในบริเวณสถานพยาบาลโรคเรื้อนพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และนำเงินที่เหลือจากการก่อสร้าง สร้างมูลนิธิราชประชาสมาสัย อีกทั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับมูลนิธิไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกด้วย 
       นอกจาก มีพระราชดำริก่อตั้งสถาบันราชประชาสมาสัย ในการดูแล การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อน แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งโรงเรียน ราชประชาสมาสัย ณ ตำบลบางจาก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อรับลูกหลานของผู้ป่วยที่ถูกเลี้ยงแยกมา ได้มีที่ศึกษาเล่าเรียน มีวิชาความรู้ไนการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปรกติสุข 

สถานพยาบาลโรคเรื้อน


       นับแต่วันนั้นถึงวันนี้ ประเทศไทย มีการบริหารจัดการด้านระบบสุขภาพ การจัดการโรคเรื้อนได้สำเร็จ มีผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมสนองพระราชดำริพระองค์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในต้นปี พ.ศ. 2558 พบผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ขึ้นทะเบียนรักษา 576 ราย กระจายตามภูมิภาคต่างๆ มีระบบการบริการสาธารณสุขทั่วถึง และการจัดการกับโรคได้อย่างดีเยี่ยม อันเนื่องมาจากสายพระเนตรที่ยาวไกลในการป้องกัน แก้ปัญหาของพระองค์ 
       พระกรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สิ้นสุดมิได้ …….. 
 

Cr. Information &Picture 

www.woodrufflawyers.com 
www.thaileprosy.ddc.moph.go.th 
www.rdpb.go.th 
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 07 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 395 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


วิธีเรียนรู้แบบโต๊ะโตะจัง

การเรียนรู้ในวัยทำงานต่างจากการเรียนการสอนในวัยเรียน เพราะวัยผู้ใหญ่ได้รับการเรียนรู้มาระยะหนึ่งแล้ว วัยผู้ใหญ่ต้องการอบรมเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการทำงานเป็นหลัก เช่น กลยุทธ์ (Strategic)

เตรียมปฐมนิเทศพนักงานใหม่มีประสิทธิภาพ ?

เตรียมปฐมนิเทศพนักงานใหม่มีประสิทธิภาพ? (Effective New Employee Orientation) ใครกันคิดว่าการปฐมนิเทศเป็นเรื่องไม่สำคัญ แค่พูดคุยทั่วไปน่าจะเพียงพอ สะดวกไม่เปลืองเวลางาน วันแรกให้เขาลงปฏิบัติหน้างานทัน

สถาบันราชประชาสมาสัยจัดตั้งขึ้น ?

ผู้ป่วย เกิดความทุกข์ทรมานทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ เสียความเชื่อมั่นตนเอง รวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคม ถูกแบ่งแยกจากกลุ่มอย่างเด่นชัด การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยยากลำบาก ไม่เป็นที่ยอมรับจากเพื่อน

รู้เรื่องเส้นทางเกลือของพ่อ

ในสมัยก่อนนั้น คนที่อาศัยอยู่ห่างไกลความเจริญ อยู่บนที่ราบสูง อยู่บนดอย ป่วยเป็นโรคเอ๋อ โรคคอพอก และความผิดปกติจากโรคขาดสารไอโอดีนจำนวนมาก ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ

ปลาทรงเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์

ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ อยู่ในระหว่างที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากหลังภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนประสบปัญหาเรื่องสุขภาพ ขาดแคลนอาหาร ข้าวยา

“วุ้นชุ่มปาก” หนึ่งในโครงการพ่อหลวง ร.๙

เราอยากรับประทานอะไรก็ตามใจปากได้ แต่สำหรับผู้ป่วย มะเร็งช่องปาก (Oral Cancer) ไม่มีสิทธิ์ได้เลือกทานตามใจชอบมากนัก ด้วยพยาธิสภาพของโรคที่เป็นปกติช่องปาก (Oral Cavity)