หน้าแรก หน้ารวมบทความ ปลาทรงเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์

ปลาทรงเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 864 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ อยู่ในระหว่างที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากหลังภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนประสบปัญหาเรื่องสุขภาพ ขาดแคลนอาหาร ข้าวยากหมากแพง
          ในครั้งนั้น ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งจัดตั้งโครงการขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ให้คลายทุกข์และพ้นจากภาวะวิกฤติดังกล่าว หนึ่งในนั้น คือ โครงการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาหมอเทศ

ปลาทรงเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์


          ในปี พ.ศ. 2494 พระองค์ได้รับพันธุ์ปลามาจากนักชีววิทยาประมงท้องถิ่นที่ทำงานให้กับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Organization of United Nations: FAO)
          ดังนั้น พระองค์มีพระราชดำริ ให้เจ้าหน้าที่จากกรมประมงดัดแปลงสระว่ายน้ำภายในพระที่นั่งอัมพรสถานให้กลายเป็นบ่อเพาะพันธุ์ปลาและทรงพระราชทานลูกปลาที่ทรงเพาะเลี้ยงให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานต่างๆ นำไปเพาะเลี้ยง แจกจ่ายให้กับประชาชน 

          ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งลูกปลาเข้ามาน้อมเกล้า ฯ ถวายพันธุ์ Tilapia Nilotica จำนวน 50 ตัว ให้กับพระองค์ เล่ากันมาว่าลูกปลาเหลือรอดจากการเดินทางในครั้งนั้น เพียง 10 ตัวเท่านั้น พระองค์ได้นำมาเพาะเลี้ยงในสวนจิตรลดา และพระราชทานนามว่า “ ปลานิล ” ตามแหล่งที่มาของปลาชนิดนี้จากแม่น้ำไนล์ (Nile) ส่วนในสื่อมวลชนญี่ปุ่นกล่าวถึงที่มาของชื่อปลานี้ว่า “นิล” มาจากตัวอักษรคันจิตัวหนึ่งในพระนามอากิฮิโตะ คือ ตัว 仁 ตัวอักษรนี้ในภาษาญี่ปุ่นมีวิธีอ่านสองแบบ คือฮิโตะหรือนิน

ปลาทรงเลี้ยงจากแม่น้ำไนล์


          ปลานิล (Cichlidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia niloticus สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีเป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ (O. mossambicus) แตกต่างกันที่ ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร
          อาหารของปลานิล คือ ไรน้ำ, ตะไคร่น้ำ, ตัวอ่อนของแมลง, กุ้งฝอย ตลอดจนพืชผักชนิดต่าง ๆที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ 

          สารพัดประโยชน์ของปลานิล ที่คุณอาจไม่เคยรู้ 

          1. เพิ่มการทำงานระบบประสาทและสมองเพราะปลานิลที่โอเมก้า 3 ไม่น้อยไปกว่าปลาทะเลน้ำลึกบางพันธุ์ ช่วยเพิ่มการจดจำของสมอง และป้องกันโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์
          2. มีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะแก่การนำไปประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
          3. แหล่งโปรตีนที่สำคัญ ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
          4. ไขมันน้อย เหมาะสำหรับการรับประทานเพื่อสุขภาพหรือลดน้ำหนัก เช่น ผู้ป่วยไขมันอุดตันเส้นเลือด ไขมันพอกตับ ภาวะน้ำหนักเกิน
          5. ผิวพรรณสดใสเต่งตึง เพราะปลานิลมีคอลลาเจนตามธรรมชาติ เมื่อรับประทานเป็นประจำช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิวพรรณ เปล่งปลั่งสดใส
          6. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจเพราะเป็นปลาที่มีโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ
แม้ปัญหาการขาดแคลนอาหารจะเริ่มบรรเทาลง แต่พระองค์ยังทรงมีพระราชกระแสรับสั่งพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลอย่างต่อเนื่อง เช่น ปลานิลแดง ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยการผสมระหว่างปลาหมอเทศและปลานิล เป็นต้น
         ต่อมาภาคเอกชนมีการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิล ให้มีความทนต่ออากาศ แหล่งน้ำ ลักษณะลำตัวใหญ่ขึ้น เช่น ปลาทับทิม เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จากปลานิล โดย บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี สามารถนำมาเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อย เนื้อแน่น มีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา ลักษณะผิวของปลามีสีขาวอมแดงระเรื่อคล้ายทับทิม จึงได้รับการพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่า "ปลาทับทิม"
         ยังมีปลาอีกหลายสายพันธุ์ ที่ทรงดูแลและพัฒนาขึ้นอีก เช่น ปลากระโห้ปลาที่เป็นสัญลักษณ์ กรมประมง กรุงเทพมหานครฯ เป็นปลาน้ำจืดที่เกล็ดมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงนำมาเพาะเลี้ยงไว้ในบ่อสวนจิตรลดา ซึ่งปลาชนิดนี้ เข้าข่ายว่าใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที แต่ต่อมาเมื่อผสมเทียมได้สำเร็จ สามารถนำปล่อยคืนสู่ธรรมชาติดังเดิม 
 

         Cr.Picture & information
https://www.rdpb.go.th
https://www.ohm.go.th
https://www.tnewsonline.tv/contents/17204
https://www.sanook.com
https://www. pasusat.com 
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 04 มกราคม 2564

จำนวนผู้เข้าชม 864 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผลKPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ มอบหมายผู้รับผิดชอบ

ความสำคัญ JD ต่องานประเมินผล

อย่าเก็บใบกำหนดหน้าที่งานหรือใบพรรณนางานของพนักงานไว้ในแฟ้มหรือไฟล์แบบไร้การเหลียวแล ต้องหมั่นอัพเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน นำ JD มาใช้ประโยชน์มากกว่าการเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนใจสำหรับงานบุคคล

ทำไมทำ KPI ไม่สำเร็จ

คำว่าทำKPI “สำเร็จ” ในที่นี้ใช่ว่ามีตัวชี้วัดผลงานตามกรอบราชการ กรอบองค์กรบริษัทกำหนด ? แท้จริงการจัดทำKPI “สำเร็จ” ไม่ใช่บอกเพียงตัวเลขเป้าหมายหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าเล่มรายงานสรุปผลเชิงปริมาณ

วิธีกำหนด KPI

วันนี้ เรามาเรียนรู้การกำหนดตัวชี้วัดหลัก(KPI) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินผลลัพธ์การปฏิบัติงาน เพราะหากกำหนดยากไปทำให้ผู้ถูกประเมินเกิดความรู้สึกเหนื่อย ท้อแท้ในการไปให้ถึงเป้าหมายนั้น

สถาบันราชประชาสมาสัยจัดตั้งขึ้น ?

ผู้ป่วย เกิดความทุกข์ทรมานทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ เสียความเชื่อมั่นตนเอง รวมทั้งการอยู่ร่วมกันในสังคม ถูกแบ่งแยกจากกลุ่มอย่างเด่นชัด การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยยากลำบาก ไม่เป็นที่ยอมรับจากเพื่อน

รู้เรื่องเส้นทางเกลือของพ่อ

ในสมัยก่อนนั้น คนที่อาศัยอยู่ห่างไกลความเจริญ อยู่บนที่ราบสูง อยู่บนดอย ป่วยเป็นโรคเอ๋อ โรคคอพอก และความผิดปกติจากโรคขาดสารไอโอดีนจำนวนมาก ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ