หน้าแรก หน้ารวมบทความ รู้เรื่องเส้นทางเกลือของพ่อ

รู้เรื่องเส้นทางเกลือของพ่อ


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 402 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

      ในสมัยก่อนนั้น คนที่อาศัยอยู่ห่างไกลความเจริญ อยู่บนที่ราบสูง อยู่บนดอย ป่วยเป็นโรคเอ๋อ โรคคอพอก และความผิดปกติจากโรคขาดสารไอโอดีนจำนวนมาก ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงให้ความสนพระทัยในการป้องกัน แก้ไขปัญหาด้านสุขภาพพสกนิกรของพระองค์ 


       เมื่อครั้ง เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมราษฎรตามภูมิภาคต่างๆ พบว่า ประชาชนจำนวนมากในถิ่นทุรกันดารป่วยเป็นโรคขาดสารไอโอดีนจำนวนมาก ทั้งเด็กเล็ก วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ จึงพระราชทานให้นำเกลือไอโอดีนไปแจก แม้ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก มีพระราชกระแสรับสั่งให้ดำเนินการนำเฮลิคอปเตอร์นำเกลือไปแจกแก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว 
       ช่วงแรกๆในการผลิตเกลือผสมไอโอดีน จ.เชียงใหม่ ค่อนข้างลำบากมาก การขนส่งและการผลิตยังไม่ได้มาตรฐาน เท่าที่ควร 
       เริ่มต้นจากโรงเรียนโสตศึกษาอนุสารสุนทรเป็นโรงเรียนที่สอนนักเรียนมีปัญหาการได้ยิน ได้ผลิตเกลือไอโอดีนขึ้นมา โดยการผลิตนั้น นำไอโอดีนขนส่งมาจากบ่อเกลือจังหวัดน่านแล้วเข้าสู่ กระบวนการ คือ ใช้พลั่วผสมบนกระบะสแตนเลส นำมาผสมไอโอดีนแพ็กใส่ถุงด้วยมือ แต่ชาวบ้านหลายคนไม่กล้านำมาใช้ 
       ปี พ.ศ. 2536 พระองค์เสด็จทอดพระเนตร การผลิตเกลือ โดยเครื่องผสมเกลือไอโอดีนที่วิทยาลัยเทคนิค จ. เชียงใหม่คิดค้นขึ้น ถวายแด่สมเด็จพระเทพ ฯ โดยสมเด็จพระเทพฯทรงมีพระราชดำรัสรับสั่งวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ให้คิดค้น เครื่องผสมเกลือไอโอดีนเพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน 
       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระราชทานพระราชดำริแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม ความว่า 
       “ให้พิจารณา การแก้ปัญหาของการขาดสารไอโอดีนของราษฎร โดยการสำรวจพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ ถึงปัญหาและความต้องการเกลือ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นที่จะมีปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกันโดยเฉพาะ ต้องสำรวจ เส้นทางเกลือ ว่าผลิตจากแหล่งใด ก็น่าที่จะนำเอาไอโอดีนไปผสมกับแหล่งผลิตต้นทางเกลือ เสียเลยทีเดียว” 
       ในครั้งที่ พระองค์เสด็จพระราชทานเกลือด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ที่อำเภอ สะเมิง จ.เชียงใหม่ นั้น พระองค์ได้รับเชื้อไมโครพลาสมา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พระองค์มีพระทัยเต้นไม่ปกติ และเข้ารับการผ่าตัดในปี พ.ศ. 2538 
       หลังได้รับการผ่าตัดไม่นาน พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในโครงการต่าง ๆ ดังเดิม โดยมิได้ทรงพักพระวรกาย ยังทรงงานอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อย 
       วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540 สภาควบคุมโรคไอโอดีนานาชาติ (International Council For Iodine Deficiency Disorder : ICCIDD) ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญทองสภาฯ แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เพื่อสดุดีเกียรติคุณแด่พระองค์ เนื่องจากทรงเป็นผู้นำ ผู้บุกเบิก ดำเนินงานด้านโครงการควบคุมปัญหาการขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย จนเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาคมโลก 
       นับแต่นั้นมา วันที่ 25 มิถุนายน ของทุกปี จึงถือเป็นวันไอโอดีนแห่งชาติ 
       น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้….. 

Cr. Picture & Information 

http://www.wisegeek.com/what-is-rock-salt.htm 
http://www.rdpb.go.th 
http://www.ohm.go.th 
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 07 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 402 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

เทคนิคการสร้างทัศนคติเชิงบวกผู้ให้บริการ

งานบริการคืองานที่ต้องพบปะกับผู้คนที่หลากหลายอารมณ์ ทั้งเข้ามาใช้บริการ ติดต่อประสานงาน ขอความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ ผู้ให้บริการต้องมีความสามารถควบคุมอารมณ์จัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที

จัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT (4MAT Learning Model)

หากผู้สอนเลือกใช้เทคนิคจัดการเรียนการสอนได้ตรงใจผู้เรียน ย่อมเกิดการเปิดใจเรียนรู้ ทำให้การเรียนน่าสนใจ คนเรียนมีความรู้ คนสอนมีความสุข 4MAT คือ รูปแบบการสอนที่สร้างกระบวนการเรียนรู้

อุปสรรคของการสื่อสาร (Communication Barriers)

การสื่อสาร การพูดคุยคู่สนทนา กลุ่มผู้รับข้อมูลมีการตีความคนละแบบได้รับข้อความไม่ครบถ้วนหรือเกิดการบิดเบือนข้อมูล ไม่ว่าเป็นการสื่อสารกับกลุ่มใด จากเรื่องเล็กๆอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่โตสร้างความขัดแย้งได้

เทคนิครับคำตำหนิเรื่องร้องเรียน (Complaints Handling)

ลูกค้าที่ไม่พึงพอใจการบริการมีไม่กี่คนที่เดินมาตำหนิต่อว่าทันที ส่วนใหญ่เก็บความคับอกคับใจไว้ บอกต่อคนอื่นและหันหลังไม่กลับมาใช้บริการอีกเลย พบว่าการทำงานด้านการให้การบริการช่วยเหลือ