ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์ วันที่ : 07 มีนาคม 2566 จำนวนผู้เข้าชม 1272 คน
07 มีนาคม 2566ในยุคของการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าคุณคือGen ไหน ต้องพร้อมรับมือกับทุกปัญหาที่เกิด มนุษย์มีความคิดหลายด้าน มุมมองที่แยบยล อยู่ที่แต่ละคนจะดึงศักยภาพแต่ละด้านออกมาใช้ประโยชน์มากน้อยเพียงไร “ใครเอาเนยแข็งของฉันไป ?” หนังสือเขียนเรื่องเชิงเปรียบเทียบตัวละครสี่ตัว การปรับตัวยอมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของแต่ละบุคคล
หนังสือเล่มนี้ ขายดีทั่วโลก 1 ใน 100 เล่ม หนังสือที่น่าอ่าน ปัจจุบัน ตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วกว่า 40 ภาษา จำได้ว่าเคยอ่านหนังสือต้นฉบับเล่มนี้ นานหลายปีแล้ว หนังสือเล่มบางๆ กระดาษสีขาวนวล พกพาติดกระเป๋าง่าย หยิบจับขึ้นมาอ่านกี่ครั้ง ได้อารมณ์การเดินตามหาเนยแข็ง หอมกรุ่น ในเขาวงกตแต่ละวงเสมือนตัวละครทุกครั้งไป
รู้สึกประทับใจและชอบแนวคิดในการเขียน นิยามเรื่องเนยแข็งนี้ ใช้ได้กับการทำงานทุกยุค ทุกสมัย ทุกวัย ใช้ปรับเปลี่ยนคนในองค์กร ปรับเปลี่ยนความคิด การกระทำ พร้อมเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงทุกสถานการณ์
นายแพทย์ สเปนเซอร์ จอห์นสัน (Spencer Johnson) ได้เขียนถึงปัญหาความซับซ้อนในสมองมนุษย์ ที่หาทางออกได้โดยง่าย มีวิธีการที่ใครๆก็เข้าถึงได้ แต่เราทุกคนมักลืมมันไป ตัวละครในเรื่อง มี 4 ตัว คือ หนูชื่อ สนิฟฟ์และสเคอร์รี่ มีการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว,มนุษย์ตัวจิ๋ว ชื่อ เฮม ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องใดๆก็ตาม และฮอว์ มีการปรับตัวได้ทันเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คับขัน
แต่ละตัวนั้น ถูกสร้างเปรียบเทียบอุปนิสัยที่แตกต่างกัน ภายใต้แรงกดดันจากสิ่งเร้าภายนอก สังคมที่มากด้วยความท้าทายในเขาวงกต ถ้าเปรียบคนทำงานในองค์กร ทุกคนต่างแสวงหาความสำเร็จขั้นสูงสุดในชีวิตตนเอง เมื่อพบอุปสรรคหรือพบความผิดพลาด ไม่สมหวัง การเปลี่ยนแปลงที่ได้มาด้วยความไม่ชอบธรรม สูญเสียตำแหน่งงานที่เคยทำ มีการโอนย้ายตำแหน่ง เปลี่ยนผู้นำ บางคนทำใจยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ ตัดสินใจหลีกหนีปัญหาและเปลี่ยนเป้าหมายที่มี บางคนทำงานกับความเคยชินไปวันๆ โดยหลงลืมการพยายาม การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
“ใครเอาเนยแข็งของฉันไป ?” พูดถึง ตัวละคร 4 ตัว ที่มีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทุกๆวัน หนูและมนุษย์ตัวจิ๋ว จะใส่รองเท้าคู่ใจ วิ่งออกไปหาเนยแข็งในเขาวงกต พวกเขาออกเดินทางทุกเช้าอย่างนั้นทุกวัน ทำจนเคยชินออกไปทุกวัน แต่แล้ววันหนึ่ง พบว่าเนยแข็งที่เคยกินอย่างเอร็ดอร่อย ได้หายไป ? ใครเอาไป ?
สนิฟฟ์และสเคอร์รี่ ด้วยสัญชาตญาณการปรับตัวแบบสัตว์ตัวเล็ก ไม่คิดอะไรมาก สมองไม่มีความซับซ้อนเหมือนมนุษย์ สัตว์ตัวจิ๋วตามหาแหล่งอาหารเรื่อยไป เพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารประทังชีวิต และทำอยู่อย่างนั้นแบบไม่ย่นย่อ
เฮมและฮอว์ คือ มนุษย์ตัวเล็ก มีความยึดมั่น ถือมั่น กลวิธีคิดสลับซับซ้อน มีความเคยชินกับสังคม ถิ่นที่อยู่ ปรับตัวได้ช้า และมีทัศนคติเป็นกำแพงกั้นความสำเร็จ โดยเฉพาะเฮมที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเขา
สำหรับ ใครก็ตามที่กำลังตามหาความสำเร็จที่หายไป ผิดหวังกับความจริงที่อยู่ตรงหน้า แนะนำให้อ่านเรื่องนี้ อาจได้ไอเดียแปลกใหม่ มีแรงขับสู้ใหม่ ในวันพรุ่งนี้
สำหรับฉบับแปล ภาคภาษาไทย หากผู้อ่านสนใจลองไปหาอ่านฉบับเต็มตามแผงหนังสือ ที่ใช้ภาษาแปลได้อย่างเข้าถึงต้นฉบับ ของ คุณ ประภากร บรรพบุตร ใช้ภาษาได้ดี ทีเดียวค่ะ
E-Mail : [email protected]
วันที่ : 07 มีนาคม 2566
จำนวนผู้เข้าชม 1272 คน
กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line
แนวคิดและประโยชน์ Competency based Performance
การมุ่งเน้นประเมินผลตัวชี้วัดหลัก KPI ตามหน้าที่ปฏิบัติงานอาจได้คนเก่ง แต่ไร้ประสิทธิภาพความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินด้านขีดความสามารถมีส่วนในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามทิศ
ข้อมูลที่จำเป็นในการเตรียมทำ KPI
ก่อนการจัดทำ KPI สิ่งที่ผู้จัดทำควรเตรียมการดำเนินการ ไม่ใช่แค่มองหาเป้าหมายเลือกเฟ้นหาหลักสูตรอบรม (Training) แม้การจัดอบรมเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่บุคลากรแต่ละกลุ่ม
หลักสูตรการสื่อสาร AIDET Plus communications สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
ยุค MK6.0 การจัดอบรมสำหรับบุคลากรสายงานสุขภาพทุกตำแหน่งในงานด้าน Healthcare เปลี่ยนไปในรูปแบบเน้นการสื่อสาร(Communication)กับผู้รับบริการให้มากขึ้น มีการเชื่อมโยงทั้งด้านการสัมผัสด้วยตาและรับรู้ด้วยใจ
กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD
ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?
ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET
ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน
เทคนิคการสร้างทัศนคติเชิงบวกผู้ให้บริการ
งานบริการคืองานที่ต้องพบปะกับผู้คนที่หลากหลายอารมณ์ ทั้งเข้ามาใช้บริการ ติดต่อประสานงาน ขอความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ ผู้ให้บริการต้องมีความสามารถควบคุมอารมณ์จัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที