หน้าแรก หน้ารวมบทความ การตัดสินใจกับงานบริหาร

การตัดสินใจกับงานบริหาร


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 408 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

        “ผมคิดว่า ผมตัดสินใจดีแล้ว ที่ลาออก”
       “ผมในฐานะผู้บริหารสูงสุด ขอประกาศให้ทราบว่า ผมตัดสินใจปิดบริษัทนี้”
       “ดิฉันตัดสินใจหยุดการสานต่อโปรเจคเดิมค่ะ” 

การตัดสินใจกับงานบริหาร

         ภายใต้สภาวะความกดดัน ในหลายเหตุการณ์ เราพบว่า “การตัดสินใจ (Decision)” ถือเป็นสิ่งสำคัญ ในการยุติหรือเดินต่อ เพื่อกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จลุล่วง แต่หากมองในมุมของการประกอบธุรกิจ การตัดสินใจของผู้บริหารนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ในการชี้วัดโอกาสการเติบโตก้าวหน้าทางธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
         การตัดสินใจนั้นอาจเกิดจาก เหตุการณ์ (Events) สภาพแวดล้อมที่เสี่ยง (Risk) ความแน่นอน (Certainty) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ซึ่งมีทฏษฎีด้านการตัดสินใจกล่าวไว้ว่า
         การตัดสินใจ หมายถึง การปฏิบัติที่เป็นสิ่งเฉพาะหรือกระบวนการทั่วไป ซึ่งการตัดสินใจเป็นการเลือกหนึ่งทางจากหลายๆทางเลือกที่กำหนดไว้ (Griffin,1999)
การตัดสินใจนั้น ถือเป็นเรื่องที่ใช้กระบวนการคิด พิจารณาจากที่มา ปัญหา เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น โดยมีระยะเวลาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับองค์ประกอบการตัดสินใจ คือ
         1. เกิดแนวทาง ปัญหาหรือเหตุการณ์ บางอย่างให้ เพื่อให้ยุติเรื่องราวหรือบรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
         2. ปัญหาหรือเหตุการณ์ดังกล่าว มีทางเลือกหลายทาง
         3. เกิดกระบวนการวิเคราะห์ไตร่ตรอง เพื่อพิจารณาหาทางเลือกที่ดีที่สุด
         4. เหตุการณ์นำมาซึ่งผลดีหรือผลเสียต่อการพิจารณาไตร่ตรอง
         5. การกระทบกระเทือนต่อผู้เกี่ยวข้อง 

         ส่วนขั้นตอนของการตัดสินใจ (Katz and Kahn,1966) ได้ระบุไว้ 4 ขั้นตอน คือ
         1. รู้สึกถึงความกดดันที่เกิดขึ้นกับการตัดสินใจนั้น
         2. การวิเคราะห์ประเภทของปัญหาและความร้ายแรงของปัญหา
         3. การแสวงหาทางเลือกของปัญหาและการพิจารณาผลของแต่ละทางเลือก รวมถึงการคาดคะเนประเภทความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ภายหลังการตัดสินใจ
         4. การตัดสินใจเลือกในขั้นสุดท้าย 
   
         และไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างไร เราจะพบว่าในที่สุด เมื่อถึงจุดหนึ่งต้องตัดสินใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยพิจารณา ทางเลือกปฏิบัติ(Course of Action) ในทางการบริหาร นั้น พบว่าผู้บริหารแต่ละระดับมีอำนาจการตัดสินใจแตกต่างกัน คือ 
     ๐ ผู้บริหารระดับสูง มีอำนาจการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision) เป็นการตัดสินใจในการวางนโยบายองค์กร การวางแผนจัดการทรัพยากร อนุมัติโครงการ อนุมัติงบประมาณ
     ๐ ผู้บริหารระดับกลาง มีอำนาจในการตัดสินใจด้านบริหารจัดการ(Management Decision) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในขอบเขตอำนาจหน้าที่งาน บุคลากร โครงการ ที่ได้รับผิดชอบ
     ๐ ผู้บริหารระดับต้น มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ ดูแลควบคุมงาน ทีมงาน (Operational Decision) ให้สำเร็จลุล่วง ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร
        จากที่ผู้เขียนกล่าวมาเบื้องต้น ทุกท่านจะพบว่าไม่ว่างานการบริหารอยู่ในระดับใด สิ่งที่ผู้บริหารหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การตัดสินใจ โดยไม่สามารถบ่ายเบี่ยงไปให้ผู้ใดได้ นั่นหมายถึงหน้าที่หลักของการดำรงตำแหน่งผู้นำ
        วันนี้ผู้เขียนขอหยิบยก ตัวอย่างการตัดสินใจภายใต้ภาวะวิกฤติของผู้บริหารงาน บริษัทฟูจิฟิล์ม ก่อตั้งเมื่อปี 2477 โดยเริ่มผลิตฟิล์มถ่ายถาพยนต์ ฟิล์มถ่ายรูป ฟิล์มเอ็กซเรย์ ต่อมาประสบปัญหาเรื่องคู่แข่งทางธุรกิจ เมื่อยุคดิจิทัลเข้ามามีส่วนพัฒนาคุณภาพชีวิตมากขึ้น โทรศัพท์ Smart Phone มีฟังชั่นการทำงานที่หลากหลาย ทั้งโทรศัพท์ ถ่ายภาพง่ายสวยงาม สะดวกพกพา ราคาถูก
         นายชิเงทากะ โคโมริ ซีอีโอฟูจิฟิล์ม แถลงว่า บริษัทสามารถผลิตวัคซีน "เอวิแกน (Avigan)" ใช้รักษาไข้หวัดอีโบลาและโควิด-19 (Covid-19) ได้ และบริษัทกำลังพัฒนากิจกรรมด้านการแพทย์เพื่อสร้างการบริการที่ครอบคลุม ตั้งแต่การวินิจฉัยโรค การป้องกันโรค การรักษาโรค ทั้งยังผลิตยา อาหารเสริม และเครื่องสำอางจำหน่ายสู่ท้องตลาด 

การตัดสินใจกับงานบริหาร

         ในปัจจุบัน ฟูจิฟิล์ม ได้ผลิตครีมลดริ้วรอยบนใบหน้าออกมาสู่ตลาดเป็นแบรนด์แรก ภายใต้แบรนด์ "แอสตาลิฟท์(Astalift)" ที่มีส่วนผสมจากแอสตาแซนทีน(Astaxanthin) ที่ช่วยปกป้องคอลลาเจน(Collagen)ในชั้นผิวจากความเสื่อมสภาพ ทำให้กระชับ อ่อนเยาว์ ผิวมีความชุ่มชื่น ทำให้ได้รับความนิยมมาก และมีหลายบริษัทผลิตครีมลดริ้วรอยตามมาหลายแบรนด์ โดยใช้จุดแข็งของธุรกิจเดิม นั่นคือ ใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการแพทย์

การตัดสินใจกับงานบริหาร


          โดย FUJIFILM นั้น มีทีมวิจัย พัฒนา (R&D) ในการทำผลิตภัณฑ์ ใช้เทคโนโลยี Micronisation ทำให้เนื้อครีมสามารถดูดซึมเข้าไปในผิวหนังชั้นใน มีสารต้านอนุมูลอิสระขนาดนาโน แอสตาแซนทีนและไลโคปีน ช่วยในการต่อต้านริ้วรอยได้ผลดี
          รวมทั้ง มีการขยายกิจการ สู่ธุรกิจยา เวชสำอางผ่านบริษัทลูกคือ "โทยามะ เคมิคอล" ตามรอยบริษัทยักษ์ใหญ่รายอื่นๆ อย่าง โซนี่ พานาโซนิค และ โตชิบา ที่เข้าสู่อุตสาหกรรมยา เวชภัณฑ์ ไปก่อนหน้านี้ นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก

ขอบคุณที่มาข้อมูล
• Cr picture I AM Beauty Monster
• FUJIFILM Website 
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 28 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 408 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


แนวทางสร้าง Training Needs ก่อนทำ TRM

แบบสอบถาม Training Needs เพื่อสอบถามพนักงานในองค์กร ผลของคำตอบในแบบสอบถามนั้น นำมาเพื่อใช้ประเมินหาหลักสูตรที่จำเป็น (Training Needs) ในการอบรมต่อตำแหน่งงานไม่ใช่หลักสูตรที่ต้องการฝึกอบรม

วิธีปรับเงินเดือนค่าตอบแทนหลังประเมินผล KPI

หลังประเมินผลการปฏิบัติงานหรือประเมินผล KPI แล้วนำผลคะแนนที่ได้มาคำนวณเพื่อพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการบริหารผลงานมีแนวทางในการปรับค่าตอบแทนหลายแบบแตกต่าง

เทคนิคการสร้างทัศนคติเชิงบวกผู้ให้บริการ

งานบริการคืองานที่ต้องพบปะกับผู้คนที่หลากหลายอารมณ์ ทั้งเข้ามาใช้บริการ ติดต่อประสานงาน ขอความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ ผู้ให้บริการต้องมีความสามารถควบคุมอารมณ์จัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที

กำหนด KPI ตามกรอบ BSC และMBO

การจัดทำระบบประเมินผลงานกำหนด KPI ตามกรอบ BSC หรือ MBO มีความแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้แบบไหนเหมาะสมกว่ากัน ? ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (Key Performance Indicators :KPIs) เป็นเครื่องมือ

ใช้ทฤษฎีมาสโลว์สร้างแรงจูงใจ

เพิ่มแรงจูงใจสำหรับพนักงานในองค์กรโดยใช้เฟรมเวิร์ก ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของอับราฮัม มาสโลว์” เข้ามาเป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากร โดยแนวคิดลำดับความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็นความต้องการ 5 ขั้น

กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจพนักงานแบบ4S (Strategies for Motivating Employees)

นอกจากการให้สวัสดิการที่ดี การขึ้นเงินเดือนเลื่อนขั้น การมีโบนัสปลายปีอาจไม่ได้ตอบโจทย์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานสำหรับทุกคน องค์กรที่ต้องการธำรงรักษาคนเก่ง คนมีฝีมือไว้ได้ องค์กรวางกลยุทธ์