หน้าแรก หน้ารวมบทความ 30 มีนา วันอะไร ? ทำไมคนทั้งโลกควรรู้ ?

30 มีนา วันอะไร ? ทำไมคนทั้งโลกควรรู้ ?


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 496 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          ก่อนเริ่มงานช่วงเช้า เห็นพนักงานในออฟฟิศมุงดูบางสิ่งบางอย่าง อย่างจริงจังตั้งใจ พร้อมเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ที่มาของปัญหาดังกล่าว เมื่อเดินเข้าใกล้ จึงพบว่า กำลังดูข่าวผู้หญิงท่านหนึ่งเปลือยกาย ปีนออกมาทางกระจกรถยนต์ของตนเอง  ตามแหล่งข่าวแจ้งป่วยเป็น โรคไบโพลาร์ (Bipolar)

30 มีนา วันอะไร ? ทำไมคนทั้งโลกควรรู้ ?

          ย้อนกลับไป เมื่อหลายปีก่อน ผู้เขียนเคยทำงานร่วมกับผู้บริหารท่านหนึ่ง ที่เป็นโรคไบโพลาร์ ช่วงได้รับยาต่อเนื่อง การบริหารงาน เป็นไปอย่างราบรื่น วันไหนขาดยารักษา เรียกว่า “ของขึ้น”  …ลูกน้องขวัญกระเจิง ไปตามๆกัน.. ใครราหูโคจรมาวันนั้น อย่าได้เข้ามาใกล้เชียว ชีวิตตกอับเป็นแน่แท้!!  โชคดีที่ผู้เขียนพอมีความรู้ในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยโรคนี้ อยู่บ้าง จึงมีวิธีจัดการกับปัญหาพอไปได้ เป็นเสมือนกัลยาณมิตรที่ดี ช่วยชี้แนะและให้กำลังใจ

          แต่ปัญหาก็คือ เมื่อเขาทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งไม่เข้าใจสภาวะโรคที่เขาเป็น คนมักมองว่าเขา “บ้า” หรือ “เพี้ยน” !!!

          ผู้เขียนเชื่อว่า หากเราเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับพวกเขาเหล่านั้น อย่างเข้าใจ โรคนี้หายได้และกลับมาใช้ชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข ไม่ใช่โรคที่สร้างปัญหาต่อใคร

          ทราบหรือไม่ 30 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันไบโพลาร์โลก (World Bipolar Day)  วันนี้มีความสำคัญอย่างไร ??

          จากข้อมูลกรมสุขภาพจิต นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ธนาคารโลกและองค์การอนามัยโลกได้ทำการสำรวจ และรายงานโรคที่จะสร้างปัญหาให้กับประชาชนและประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2563 พบว่า โรคจิตเวช โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าจะมีอัตราการป่วยของประชากรสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และคาดว่าจะมีประชากรร้อยละ 10 ของโลกที่มีปัญหาสุขภาพจิต

          ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าประมาณ 5% หรือ 3 ล้านคน แต่มาพบแพทย์ไม่ถึงแสนคน ส่วนอีก 2 ล้านกว่าคน ไม่มาพบแพทย์

          ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้ป่วยไบโพลาร์ ร้อยละ 1 % ของประชากร

          ส่วนในประเทศไทย รายงานจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการในสถานพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต ประจำปี 2556 จำนวน 156,663 ราย พบเป็น ผู้ป่วยไบโพลาร์ 52,852ราย หรือ ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มารับบริการทั้งหมด เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  ช่วงอายุที่พบมาก 3 ลำดับแรก   ได้แก่ 45-49 ปี รองลงมา 40-44  ปี และ 50-54 ปี ตามลำดับ

          "โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder)" หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางด้านอารมณ์ กลุ่มเดียวกับโรคซึมเศร้า  เรียก โรคสองบุคลิก มีอารมณ์ซึมเศร้า(depression)  ภาวะเฉื่อยชา บางครั้งก็แปรเปลี่ยนกลับมาสนุกสนาน รื่นเริงผิดปกติ(mania)

          โรคนี้ เพศหญิงมีโอกาสเป็นเท่าเพศชาย พบความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18 ,21,22  มักเริ่มเป็นก่อนวัยกลางคน บางรายเริ่มเป็นตั้งแต่ 15-25  ปี แต่มี บางรายที่เริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปี โรคนี้เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม หาก บิดา มารดา หรือเครือญาติ มีประวัติเป็น รุ่นลูกหลานมีโอกาสเป็นได้สูงกว่าคนทั่วไป 4 เท่า  บางครั้งขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูในวัยเด็ก  ภาวะเครียด การประสบปัญหาวิกฤติชีวิตรุนแรง สารเสพติด มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรคดังกล่าว

     อาการของโรค

            อารมณ์ซึมเศร้า (Depression)ไม่อยากทำอะไร มองทุกอย่างแง่ลบ หมดเรี่ยวแรง รู้สึกตนเองไร้ค่า คิดฆ่าตัวตาย(Suicide)

            อารมณ์ดีผิดปกติ (Mania)  มีภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ  มีความคิดรื่นเริง มากเกินควร มีกิจกรรมตลอดเวลา ใช้เงินฟุ่มเฟือย ชอบพูดคุยตลอดเวลา ไม่ชอบใครมาขัดจังหวะหรือขัดคำสั่ง คำพูด เกิดอาการโมโหรุนแรงหรือก้าวร้าวได้ บางครั้งอารมณ์นี้มีผลต่อการตัดสินใจในการทำงานบางอย่าง ทำให้การตัดสินใจงานผิดพลาดได้     

            บางคนกลางคืนไม่ยอมหลับ ไม่ยอมนอน อยากเที่ยวกลางคืน ใช้จ่ายเงินมาก คนเป็นโรคนี้ บางคนอยู่ช่วงหนึ่งอาจจะ  ประมาณ 4-6 เดือน จะสามารถกลับคืนเป็นปกติได้เองโดยไม่ต้องรักษา คนรอบข้างจะไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาหรือคิดว่าหายปกติแล้ว ถ้าไม่สังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด จะพบเห็นเขาดำเนินชีวิตได้ปกติ พอถึงช่วงหนึ่ง จะรื่นเริงอีก หรืออาจจะสลับไปขั้วตรงข้าม

          โรคนี้ช่วงซึมเศร้าจะเหมือนกับโรคซึมเศร้า อัตราการฆ่าตัวตายคือ 15-20% เพราะฉะนั้น หนึ่งในห้ามีโอกาสที่จะเกิดปัญหาเบื่อเศร้าและฆ่าตัวตาย ช่วงที่รื่นเริงมากๆ ก็จะมีประเด็นการฆ่าตัว ตายได้ด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ตอนซึมเศร้า                              

     แนวทางในการรักษา

         เชื่อว่าโรคไบโพลาร์เกิดจากการทำงานผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาท ที่ไม่สมดุลย์คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกินไปและสารนอร์เอพิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไป

ยาที่ใช้รักษาโรคไบโพล่าร์ได้แก่ยาในกลุ่มยา ควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics), และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants)

           1. บางรายพบแพทย์ 2-4 ครั้งต่อปี บางรายมากกว่านั้น  การรักษาโดยใช้ยาไปช่วยในการปรับสารสื่อนำประสาทตรงให้กลับมาทำงาน ได้อย่างปกติ เรียกชื่อกลุ่มยานี้ว่า กลุ่มปรับอารมณ์ให้คงที่ (mood stabilizer) ช่วงแรกคุมอาการให้เป็นปกติที่สุดภายใน 1 สัปดาห์หรืออย่างช้า 1 เดือน

หลังจากนั้น เป็นการรักษาต่อเนื่อง อาจต้องใช้ยาคุมอาการ ระยะเวลาการรักษา การหายจากโรคนี้ ขึ้นอยู่กับอาการและตัวคนไข้เป็นสำคัญ

           2. ยาหลักที่นิยมใช้รักษาและได้ผลดี

Fig. A    :  Lithium carbonate is one of many treatments for bipolar disorder
  • ควบคุมอาการ mania ได้ดีมาก คือ lithium
  • อาการซึมเศร้า ยาอื่นๆ ที่ได้ผลดี คือ  valproate, carbamazepine, lamotrigine, gabapentin และ topiramate

          3. อาการซึมเศร้าตอบสนองดีต่อยา clozapine, olanzapine, risperidone, quetiapine และziprasidone

          4. พยายามให้ผู้ป่วยกินยาสม่ำเสมอ

          5.จัดรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แน่นอน โดยเฉพาะเรื่องการนอน นอนวันละ 6-8 ชั่วโมง

          6. การรักษาด้านจิตใจและสังคม (psychosocial intervention) จะช่วยลดการกลับเป็นซ้ำได้

      เน้นเรื่อง การปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดการกระตุ้นภาวะเจ็บป่วย ,การปรับตัวของผู้ป่วย ของญาติ และครอบครัวต่อการ       เจ็บป่วยที่เกิดขึ้น โดยญาติและครอบครัวต้องทำความเข้าใจต่อการดูแล รักษาผู้ป่วย

          7. การทำจิตบำบัด

  • cognitive behavior therapy คือเชื่อว่า อาการของผู้ป่วย มีสาเหตุจากการมีแนวคิดที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง การรักษา มุ่งแก้ไขแนวคิดของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความจริงมากขึ้น รวมถึงการปรับพฤติกรรม ใช้ทักษะใหม่ในการแก้ปัญหา
  • interpersonal psychotherapy  การรักษาที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้อื่น มุ่งให้ผู้ป่วยมีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อื่นที่ดีขึ้น ไม่เน้นถึงความขัดแย้งในจิตใจจะเสริมประสิทธิภาพการรักษาของยาเป็นอย่างดี

 อาการเข้าข่ายโรคซึมเศร้า

 ผศ.นพ.พนม เกตุมาน จิตแพทย์  ได้กล่าวถึง อาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้าไว้ว่ามีลักษณะดังนี้

  1. อารมณ์ไม่สนุกสนาน ไม่ร่าเริงเหมือนเดิม ไม่มีความสุข เบื่อ ท้อแท้ เครียด หงุดหงิด และเศร้า
  2. หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ เบื่อสิ่งที่เคยทำแล้วสนุก มีความสุข ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเจอใคร
  3. เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก (หรือบางคนกินมากเพื่อให้หายเครียด น้ำหนักเพิ่มขึ้น)
  4. นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือตื่นเร็วกว่าเดิม 2-3 ชั่วโมง แล้วนอนต่อไปไม่ได้ (แต่บางคนนอนมากขึ้น เนื่องจากไม่อยากทำอะไร นอนแต่ก็ไม่หลับ)
  5. เหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
  6. ความคิดช้า การเคลื่อนไหวช้า
  7. สมาธิความจำเสีย ตั้งใจทำงานไม่ได้ ลังเลตัดสินใจลำบาก
  8. คิดว่าตัวเองไร้ค่า ทำผิด ทำไม่ดี คิดต่อตัวเองไม่ดี
  9. อยากตาย และฆ่าตัวตาย

          หากใครไม่แน่ใจว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดอยู่ในภาวะเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  แต่หากกลัวการไปพบแพทย์   สามารถปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง 

           เมื่อทราบแล้ว เราควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต แม้ปัจจุบัน สภาพสังคม เศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อความเครียด ในการดำรงชีวิต ผู้เขียนแนะนำให้ทุกท่าน ใช้หลักเดินทางสายกลาง  อะไรที่ตึงหรือหย่อนเกิน ก็ทำให้พอดิบพอดี เพราะไม่ว่าจะเราจะพยายามเร่งรีบ ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีใครทำเกินเวลา 24 ชั่วโมงได้ แม้แต่พระอาทิตย์ยังอัสดง !!!! เมื่อยาม รุ่งอรุณมาสว่างเจิดจ้าอีกครั้ง 

           ขงจื้อ นักปรัชญาชาวจีน กล่าวไว้ว่า

“เกียรติภูมิที่ยิ่งใหญ่ไม่ได้อยู่ที่เราไม่เคยล้ม แต่อยู่ที่เราลุกขึ้นทุกครั้ง ที่เราล้มต่างหาก” 

ขอบคุณที่มาข้อมูล

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 27 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 496 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


บุคลิกภาพท่ายืนเดินนั่งที่สง่างาม

“อิริยาบถท่าทางที่สง่างามช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้ชวนมอง ไม่ว่าท่านทำงานในตำแหน่งใด ควรได้เรียนรู้พื้นฐาน 3 เรื่องนี้ไว้ทั้งการยืน เดิน นั่ง ซึ่งเป็นบุคลิกพื้นฐานที่ฝึกฝนให้ดูดีได้ไม่ยาก ”

จัดการเรียนการสอนแบบ 4MAT (4MAT Learning Model)

หากผู้สอนเลือกใช้เทคนิคจัดการเรียนการสอนได้ตรงใจผู้เรียน ย่อมเกิดการเปิดใจเรียนรู้ ทำให้การเรียนน่าสนใจ คนเรียนมีความรู้ คนสอนมีความสุข 4MAT คือ รูปแบบการสอนที่สร้างกระบวนการเรียนรู้

หกท่าภาษากายเสนองานที่มีเสน่ห์ (Presenting Body Language)

การเตรียมภาษากายจึงมีความสำคัญมาก เป็นภาพลักษณ์แรก (First Impression) ที่ผู้ร่วมสนทนา เกิดการรับฟังพบเห็นและอาจกล่าวได้ว่า ผู้ร่วมสนทนารับรู้การแสดงออกตลอดในช่วงระยะเวลาที่นำเสนอ

กุญแจ 5 ดอกไขความสำเร็จการนำเสนอ (Five keys to a winning pitch)

ลองนึกดูว่าก่อนที่นางงามระดับโลกหนึ่งคนประสบความสำเร็จจากการได้รับตำแหน่ง สวยอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องมีเสน่ห์ชวนมอง แฟนคลับติดตามผ่านช่องทางออนไลน์เยอะๆ ทุกคนหมั่นฝึกฝนทักษะการเดินโชว์ ฝึกพูดให้กินใจ

เคล็ดลับลดความตื่นเต้นเมื่อพูดในที่ประชุม ?

การพูดในที่ประชุมที่ค่อนข้างเป็นทางการ โดยเฉพาะการประชุมที่ผู้ฟังมีตำแหน่งหน้าที่อาวุโสในองค์กร ผู้ฟังหลายส่วนงาน หลากหลายกลุ่มอายุ การเตรียมตัวเตรียมข้อมูลในการพูดถือเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์

เทคนิคสัมภาษณ์งานให้ได้คนเก่ง

หลังผู้สมัครงานผ่านระบบการทดสอบ (Test/Exam) ความสามารถตามแนวทางที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลวางระบบการทดสอบไว้แล้ว เช่น สอบข้อเขียนทักษะหลักในงาน สอบวัดพฤติกรรมและบุคลิกภาพ ประเมิน MBTI วัดคุณลักษณะบุคคล