หน้าแรก หน้ารวมบทความ เรื่องเล่า “สติปัญญา กับความเด็ดขาด”

เรื่องเล่า “สติปัญญา กับความเด็ดขาด”


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 679 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     การกระทำใดๆก็ตามที่ใช้ “สติปัญญา” หลายคราว ใน 3 ก๊ก ต้องอาศัยคนหมู่มากในการรบเพื่อชัยชนะ แต่เมื่อใดก็ตามที่ต้องตัดสินใจกระทำการให้บรรลุเป้าหมาย ต้องอาศัยการตัดสินใจอย่าง “เด็ดขาด” ผู้นำเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่ควรลงมือ คิด ทำ ตัดสินใจในทันที แบบเด็ดเดี่ยว 


     เล่าเรื่องของสติปัญญาและความเด็ดขาด น่าสนใจนำมาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งมีที่มาต่างกันใน 3 ก๊ก สามารถนำมาใช้ในการทำงานปัจจุบันได้ดีเยี่ยม 
กล่าวถึง…. 
       ..เมื่อครั้งที่เล่าปี่ตัดสินใจจะยึดเอาเสฉวน หวดเจ้งซึ่งเป็นขุนนางเสฉวนบอกแก่เล่าปี่ว่า 
          “เมืองเสฉวน มีภูมิฐานมั่นคงบริบูรณ์ทุกสิ่ง แต่หากผู้ใดหามีสติปัญญา ถึงจะตั้งตัวเป็นใหญ่ แต่ก็อาจเป็นของผู้อื่น บัดนี้เล่าเจี้ยงมีหนังสือมาถึงท่านก็เหมือนเอาเมืองมายกให้ท่าน ขออย่าได้ทิ้งเมืองเสฉวนเลย” 
          แต่เล่าปี่ไม่ตอบรับทันที ขอบอกขอบใจ ขอกลับมาปรึกษาหารือก่อน 
ขณะเล่าปี่นั่งครุ่นคิดอยู่ … 
          บังทอง (หรือซือหยวน เกิดเมืองซียงหยาง มลฑลเกงจิ๋ว สมัยเด็ก ไม่ค่อยฉลาด แต่เมื่อโตขึ้นสนใจศึกษาวิชา หาความรู้กับจูกัดเหลียง ขงเบ้ง และบังทองยังเป็นจอมวางแผนที่หลักแหลม แม้เป็นผู้มีหน้าตาขี้เหร่แต่มีสติปัญญาล้ำเลิศ ) 
กล่าวว่า … 
          “อันธรรมดาผู้มีสติปัญญานั้น จะคิดทำสิ่งใดย่อมว่ากล่าวแตกฉานให้ปรากฎ ตัวท่านก็มากด้วยสติปัญญาจะมานั่งวิตกถอยหลังอยู่ฉะนี้หาควรไม่” 
บังทองนั้น จึงได้ช่วยวิเคราะห์ให้เล่าปี่ฟังอย่างละเอียดว่า 
           “เมืองเกงจิ๋วนั้น ข้างตะวันออกซุนกวนเป็นอริ ฝ่ายทิศเหนือโจโฉเป็นศัตรู ทุกวันนี้เหมือนอยู่กลางไฟศัตรูอยู่รายรอบ เมืองเสฉวนผู้คนมาก บริบูรณ์ เห็นจะเป็นที่ตั้งตัวให้เป็นสุขได้” 
          แต่เล่าปี่อ้างถึงความสัตย์ ที่ไม่กล้าฉวยโอกาสแย่งเมืองเล่าเจี้ยง 
          แต่บังทองวิเคราะห์ว่า 
             “ขณะนี้แผ่นดินบ้านเมืองยังไม่สงบสุข เกิดจลาจลต่างๆ หากเล่าปี่จะถือเอาความสัตย์มั่นมิได้ ภัยมาถึงตัวได้ ดังนั้นต้องรักษาตัวก่อน เมื่อบ้านเมืองสงบให้สนองคุณภายหลัง หากเล่าปี่มิคิดเอาเมืองเสฉวนในขณะนี้ นานไปเบื้องหน้าก็จะเป็นของผู้อื่น จะคิดทำการภายหลังเห็นจะไม่สำเร็จ จะป่วยการสติปัญญาผู้ช่วยอุปถัมภ์เสียเปล่า” 
           ข้อเสนอของบังทองถูกอกถูกใจเล่าปี่มาก บังทองถือเป็นจอมปราชญ์คนหนึ่ง ถึงแม้ในเรื่อง 3 ก๊กจะปรากฎตัวไม่กี่ตอน แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจ จะเห็นว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ แม้สิทธิ์ในการตัดสินใจจะชี้ขาดอยู่ที่ผู้นำนักปราชญ์เช่นเล่าปี่ บังทองเป็นเพียงผู้ออกความคิดเห็น แต่มีส่วนสำคัญกระตุ้นความรู้สึก กระตุ้นการกระทำ ของเล่าปี่ให้ตัดสินใจทันที ด้วยสติปัญญาในการคิดแบบบังทอง
           ย้อนกลับมาในการบริหารงานปัจจุบัน การมีสติปัญญาหลักแหลม อย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องพร้อมด้วยทีมงานที่มีสติปัญญาช่วยกระตุ้นในการตัดสินใจ ที่รวดเร็วขึ้น ในการชี้การตัดสินใจเด็ดขาด ลงไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้ทันต่อเหตุการณ์ 
            การเลือกผู้มาทำงานดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กร นั้น นอกจากผู้บริหารเลือกจากความรู้ ความสามารถแล้ว ต้องเลือกผู้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่แตกฉานมาร่วมงานสำคัญ เช่น ฝ่ายงานหลักๆของธุรกิจ การตลาด ทรัพยากรบุคคล ภาพลักษณ์องค์กร กำหนดกลยุทธ์ 
หากได้หัวเรี่ยว หัวแรงที่ดี ผู้บริหารไม่ต้องลงทุนลงแรงมากเกิน มีทีมงานที่ดีช่วยเหลือสนับสนุน งานบรรลุเป้าหมายได้รวดเร็ว 
          ดังนั้น แนวทางการเลือกคนเข้ามาทำงานนั้น ต้องเลือกผู้มีทั้งสติปัญญา เข้ามาช่วยสนับสนุนภารกิจ โดยมีเกณฑ์พิจารณาการเลือก 3 ด้าน คือ 
          1) ผลปฏิบัติงานและคุณลักษณะความสามารถอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีการประเมินผลแบบ รูปธรรม 
          2) มีทักษะการคิด วิเคราะห์ การบริหารดีเยี่ยม ประเมินจาก แบบประเมิน Competency และแบบประเมินการบริหาร 
          3) เป็นที่ยอมรับจากผู้ร่วมงาน มากกว่า 80 % ควรประเมินจากใบประเมิน 180 องศาร่วมด้วย 
          ในข้อหลังนี้ สำคัญมาก เพราะหากผู้นำที่ท่านเลือกไปนั้น เก่งแต่งานแต่ไม่เก่งบริหารคน ไม่เป็นที่ยอมรับ เดินไปทางไหนมีแต่คนเลี่ยงหนี ไม่อยากทักทาย ก่อให้เกิดการขาดความร่วมมือ ร่วมใจทำงาน งานเกิดภาวะคอขวด 
         โดยเฉพาะ ผู้นำที่ต้องทำงานประสานงานร่วมกับทุกสายงาน เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายการตลาด ต้องมีแนวทางการเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง ที่ค่อนข้างละเอียด ใช่ว่าถูกใจแล้ว “ลองผิด ลองถูก” ให้ทำไปก่อน ควรมีการประเมินผลงานภายใน 6 เดือน 
          เพราะหากเลือกผู้นำผิด การขับเคลื่อนงานไปได้ช้ามาก ปัญหางานไม่เดิน คนไม่เก่ง ไม่เกิดการพัฒนาทั้งองค์กร ผลิตภัณฑ์ บริการและบุคลากร วลีเด็ดที่มักได้ยินบ่อยๆจากคนทำงานพร่ำบ่นเบื้องหลังว่า เข้าสู่ยุค “ถอยหลังเข้าคลอง” 
 

Cr . Picture 

https://th.wikipedia.org
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 07 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 679 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD

ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?

Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI

คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)

อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?

อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง

ทฤษฎีตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์และการบริการ

การเลือกใช้สินค้า และบริการนั้นเกิดจากการเรียนรู้ของผู้เลือกใช้ อาจมาจากข้อมูลสื่อโฆษณาในช่องทางต่างๆ ประสบการณ์คำบอกเล่า ประสบการณ์ตรงที่ได้รับมาจากผู้ใช้บริการ

พฤติกรรมบริการต่อลูกค้าทั่วไป คลินิก โรงพยาบาล

การบริการไม่ใช่สินค้าที่สามารถคงรูปรส กลิ่น เสียงได้เมื่อเปลี่ยนผู้ให้บริการพฤติกรรมการส่งมอบบริการอาจเปลี่ยนไปตามลักษณะของบุคคลนั้น สิ่งที่ทำให้พฤติกรรมการบริการคงที่คงอยู่นั้นคือ การสร้าง Empathy

การสื่อสารแบบ AIDET Plus ทุกแผนกในโรงพยาบาลทำอย่างไร ?

ในอดีตผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามหลักใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Descriptions) โดยปฏิบัติงานแต่ละหน้าที่ตามขั้นตอนงาน (Work Instruction) ที่จัดทำขึ้นมาจากมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพตามหลักการความปลอดภัย