หน้าแรก หน้ารวมบทความ คิดอย่าง ASAVA เดินแบบ ZARA ประสบความสำเร็จจริงหรือ ?

คิดอย่าง ASAVA เดินแบบ ZARA ประสบความสำเร็จจริงหรือ ?


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 620 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          “ความสำเร็จไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ คนเราต้องรู้จักมอง รู้จักคิดทุกความสำเร็จมีค่า ทุกอย่างมีวิถี มีความค่อยเป็นค่อยไป ให้มองความสำเร็จเป็นสิ่งพื้นฐานง่ายๆ อย่ามองอะไรที่ไกลตัว เพราะมันไปถึงยากแต่ให้มองอะไรที่เอื้อมถึง ทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ให้สำเร็จทุกเรื่อง ถ้าปฏิบัติต่อชีวิตด้วยหลักการนี้ ชีวิตจะไม่กระเสือกกระสน และไม่เหนื่อยเกินไป”

ขอบคุณภาพจาก ทีมข่าวหน้าสตรีไทยรัฐ

          ได้อ่านประโยคที่ คุณหมู อาซาว่า หรือ คุณพลพัฒน์ อัศวะประภา ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น เจ้าของแบรนด์ ASAVA ให้สัมภาษณ์ไว้กับหนังสือพิมพ์มติชนฉบับเดือนพฤษภาคม 2559 รู้สึกชื่นชม ในความคิดที่ละเอียดลึกซี้ง เป็นบุคคลอีกท่านที่ประสบความสำเร็จ เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนรุ่นใหม่  
          ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนเคยได้รู้จักแบรนด์นี้จาก คำชื่นชมแนวเสื้อผ้า ที่เรียบหรู แต่เน้นความมีระดับ สวมใส่สบาย ของเพื่อนท่านหนึ่ง
          เผอิญได้มีโอกาสอ่านบทสัมภาษณ์คุณหมูจึงขอนำแนวคิดการทำงานให้ประสบความสำเร็จ มาเล่าสู่กันฟัง
          เขาเป็นบุคคลอีกท่านหนึ่ง ที่มีความตั้งใจบวกกับความมานะพยายามในงานที่ตนเองรัก มีความใส่ใจทุกรายละเอียดในงาน คนและสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้คุณหมูคือดีไซเนอร์อันดับต้นของเมืองไทย มีสไตล์การออกแบบที่เรียบหรูดูดี มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนใคร

คิดอย่างASAVA เดินแบบ ZARA ประสบความสำเร็จจริงหรือ ?

       ย้อนกลับไป ในค่ำคืนแห่งเกียรติยศ เวทีนางงามระดับโลก “ชุดราตรีสีขาว” ที่น้อง แนท อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2015 ใส่ขึ้นเวทีประกวดมิสยูนิเวิร์สรอบตัดสิน นั้นสวยสง่า เป็นที่ประทับใจทุกสายตาทั้งโลกนั้น ได้รับการออกแบบโดยแบรนด์Asavaกูรูแฟชั่นอเมริกายกย่องให้เป็นชุดที่งดงามมากที่สุดของการประกวดมิสยูนิเวิร์สปี 2015 รวมทั้งการออกแบบชุดบางกอกแอร์เวย์ ที่ได้รับการออกแบบอย่างสวยงามและเรียบหรูในแบบอาซาว่า
          เส้นทางการทำงานของอาซาว่า นั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เหมือนเส้นทางบนรันเวย์ แม้คุณหมูจะเป็นลูกคนเล็กจากครอบครัวที่มีฐานะดีมากคนหนึ่ง ทางบ้านทำธุรกิจหลายด้าน จบการศึกษาปริญญาโทจากต่างประเทศ แต่เลือกสร้างธุรกิจที่ตนเองรักด้วยน้ำพักน้ำแรงตนเอง เริ่มก่อตั้งธุรกิจจากมีคนทำงานแค่ 4 คนทำเสื้อผ้าวันละไม่กี่ชุด นั่งทำเสื้อผ้าในห้องเก็บของ ยอมทำงานเป็นลูกจ้างเงินเดือนไม่กี่บาทในห้องเสื้อแบรนด์ดัง ใช้ชีวิตอยู่ต่างแดนนานหลายปี เพื่อหาประสบการณ์ไปสู่ความสำเร็จ ในงานที่ตนเองรัก แบรนด์ ASAVAคือแบรนด์คุณภาพดีในไทย ที่หลายคนยกนิ้วให้ ASAVA เป็นแบรนด์ในใจ
          เมื่อได้ฟังบทสัมภาษณ์จากปากคุณ หมู ทำให้ผู้เขียนชื่นชมความมี Passion ในตัวเขาทำให้ทุกวันนี้แบรนด์ ASAVA มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งวงการแฟชั่นไทยและต่างประเทศ

ขอบคุณภาพจาก bornrich.com 

          หากนึกถึงแบรนด์เสื้อผ้าระดับโลก “ZARA” ก่อตั้งเมื่อปี 1975 ที่เปิดสาขาอยู่ในห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ในไทย จำนวนมากซึ่งมีการออกแบบที่โดดเด่น เนื้อผ้าใส่สบาย ราคาที่คุ้มค่า ทั้งชายและหญิง ซึ่งหลายท่านสามารถจับจ่ายใช้สอยได้ แบบคุ้มค่า
          ZARA ไม่มีโฆษณา เกลื่อนตลาดให้คุณพบเห็นในหน้าจอทีวี แต่มีแบบเสื้อผ้าแบบใหม่ๆออกมาทุกสัปดาห์รูปแบบการบริหารงานแบบ vertically integrated ในการควบคุมการผลิต ตั้งแต่เริ่มการออกแบบ ช่องทางการจัดจำหน่าย และแม้จะมีการกระจายการผลิตเสื้อผ้า ตามภูมิภาคที่สำคัญ แต่สินค้าส่วนใหญ่ยังคงผลิตประเทศ สเปน ดังเดิม
          ทำให้นึกถึง เส้นทางเดินผู้ก่อตั้งแบรนด์ ZARA นั่นคือ Amancio Ortega Gaona เขาเริ่มต้นทำงานด้านเสื้อผ้า ตั้งแต่ อายุ 14 ปี ด้วยการเป็นลูกจ้างในร้านเสื้อเชิ้ตเริ่มสะสมทุน เมื่อมีทุนมากพอจึงทำธุรกิจเล็กๆด้านร้านเสื้อผ้าผลิตเสื้อคลุมและชุดนอน ขายเป็นแบรนด์ของตนเอง ต่อมาพัฒนาเป็นธุรกิจเสื้อผ้าแบรนด์ ZARA ในเมือง La Coruna และค่อยๆเพิ่มสาขาไปเรื่อยๆ
          แนวเสื้อผ้าเน้นเรียบง่าย ออกแนวเท่ห์ๆมีสไตล์ ทุกรุ่นที่ผลิตมีจำนวนจำกัด เน้นราคาที่เหมาะสม ลูกค้าสามารถหาซื้อจับจ่ายได้ในราคาที่ไม่สูงเกินไป ทุกวันนี้แบรนด์ ZARA แบรนด์สัญชาติสเปน มีสาขาหลายพันสาขาทั่วโลก
         ในปี 2016 อามันซิโอ ออร์เตก้า คว้าตำแหน่งบุคคลที่รวยที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 2 รองจาก บิล เกตส์ เจ้าพ่อแห่งไมโครซอฟต์ ซึ่งอามันซิโอ ออร์เตก้า ถือทรัพย์สินที่ประเมินค่าได้ไม่ต่ำกว่า 66.8 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท โอวพระเจ้า นั่นคือเส้นทางที่เขาเลือกเดินแล้ว
         ทั้ง 2 แบรนด์ ทั้ง ZARA และ ASAVA ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนั้น มีที่มาของการสร้างคุณค่าแบรนด์ ไม่ต่างกัน คือ คิดอย่างผู้ประสบความสำเร็จ มุ่งมั่นบนทางเดินที่เลือกแล้วอย่างจริงจัง“เลือกทำในสิ่งที่รัก มุ่งมั่นทำในสิ่งที่เลือก แบบ ไม่ปล่อยโอกาสลอยนวล”
         หลักการคิดเพื่อความสำเร็จนั้น ต้องมีความมุ่งมั่นจริงจังในงานที่ทำ รักในสิ่งที่เลือก เพราะหากลงมือทำไปแล้ว เกิดปัญหาเข้ามาผู้ที่ประสบความสำเร็จนั้น จะ “กัดไม่ปล่อย” และยากที่จะเลิกทำ
         ผู้ที่ทำธุรกิจด้วยความรักตั้งใจจริงนั้นต้องเพิ่มเรื่องความมีจริยธรรมในทุกด้าน ซึ่งหลักการมีจริยธรรม จักช่วยยึดครองตลาดแบบบริสุทธิ์ อยู่ในใจลูกค้าอย่างถาวร
         เมื่อธุรกิจดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง หากเกิดปัญหาด้านทรัพยากร ทุน การผลิต สิ่งที่เข้ามาเป็นตัวเลือกในการแก้ปัญหา สังเกตพบ มักเน้นไปที่การลดต้นทุนการผลิต ปรับกลไกไปตามท้องตลาด มากกว่าวิเคราะห์คนกับงาน โดยการแก้ปัญหาต้องทำทุกด้านไปแนวทางคู่ขนานกัน
         ในแง่ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สิ่งที่ผู้บริหารควรตระหนักและมองลึกไปให้ถึงปัญหา คือ ทุนมนุษย์ (Human Capital) ตราบใดที่มนุษย์ยังคงเป็นผู้ควบคุมการผลิต ใช้ทรัพยากรมนุษย์ในการขับเคลื่อนองค์กร ต้องมีกระบวนการคิดพัฒนาทุนมนุษย์ อย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดนิ่ง
         ปลูกฝังจริยธรรมในงาน พร้อมสร้างคุณค่าในงานที่ทำ เป็นสิ่งสำคัญมากในการสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็งครองใจผู้บริโภคอุปโภคอย่างถาวร
         เมื่อผู้นำองค์กรมีความมุ่งมั่นสร้างองค์กรสู่ระดับแนวหน้าธุรกิจ ควรมีโปรแกรมการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร การสร้างความสำนึกในหน้าที่งาน คืนกำไรสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ทำอย่างไรให้พนักงานมีทิศทางการขับเคลื่อนไปสู่คนคุณภาพ ควบคู่องค์กรคุณภาพ
         หลักการคิดเพื่อความสำเร็จของธุรกิจนั้น ต้อง “คิดแบบรู้เขา รู้เรา” ไม่ควรมองข้ามความรับผิดชอบต่อสังคม “Corporate Social Responsibility (CSR)" หรือมุ่งทำธุรกิจเพื่อยึดครองตลาดแบบผูกขาดฝ่ายเดียว อาศัยการพึ่งพากันและกัน ทุกสังคมจึงจะมีการแข่งขันและคงอยู่อย่างสงบสุข ปัจจุบัน ธุรกิจเปิดตัวมากหน้าหลายตา บางธุรกิจมุ่งเพื่อทำผลกำไรแบบไม่ลืมหูลืมตา หลงลืมการคืนคุณค่าสู่สังคม ที่เป็นแหล่งก่อร่างสร้างทำเลทอง คนท้องถิ่นขาดอาชีพเพราะเส้นทางการทำงานถูกครอบครองด้วยนายทุนใหญ่ สภาวะแวดล้อมบนผืนโลกถูกทำลายไปมากเพราะความเห็นแก่ตัวจากคนบางกลุ่ม
         เปลี่ยนแนวคิด “เพื่อช่วย…” ตั้งแต่วันนี้ ยังไม่สาย !!!
        “ทำธุรกิจแบบรวยน้ำใจ ยิ่งใหญ่และรวยยั่งยืน” คุณว่าจริงไหม?

ขอบคุณข้อมูลและภาพ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับเดือนพฤษภาคม
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับเดือนพฤษภาคม
http://www.thairath.co.th/content/623654
ขอบคุณภาพจาก bornrich.com
www.slimmingthai.com/view.php?id=606 
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 29 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 620 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


วิธีปรับเงินเดือนค่าตอบแทนหลังประเมินผล KPI

หลังประเมินผลการปฏิบัติงานหรือประเมินผล KPI แล้วนำผลคะแนนที่ได้มาคำนวณเพื่อพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการบริหารผลงานมีแนวทางในการปรับค่าตอบแทนหลายแบบแตกต่าง

เทคนิคการสร้างทัศนคติเชิงบวกผู้ให้บริการ

งานบริการคืองานที่ต้องพบปะกับผู้คนที่หลากหลายอารมณ์ ทั้งเข้ามาใช้บริการ ติดต่อประสานงาน ขอความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ ผู้ให้บริการต้องมีความสามารถควบคุมอารมณ์จัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที

กำหนด KPI ตามกรอบ BSC และMBO

การจัดทำระบบประเมินผลงานกำหนด KPI ตามกรอบ BSC หรือ MBO มีความแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้แบบไหนเหมาะสมกว่ากัน ? ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (Key Performance Indicators :KPIs) เป็นเครื่องมือ

กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจพนักงานแบบ4S (Strategies for Motivating Employees)

นอกจากการให้สวัสดิการที่ดี การขึ้นเงินเดือนเลื่อนขั้น การมีโบนัสปลายปีอาจไม่ได้ตอบโจทย์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานสำหรับทุกคน องค์กรที่ต้องการธำรงรักษาคนเก่ง คนมีฝีมือไว้ได้ องค์กรวางกลยุทธ์

แนวคิดและเทคนิคบริหารผลการปฏิบัติงาน

การจัดทำมาตรฐานผลการปฏิบัติงานทั้งรายบุคคล หน่วยงาน แผนก และองค์กร ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในในการดำเนินธุรกิจแก่ลูกค้าคู่ค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ทำให้องค์กรมีมาตรฐานน่าเชื่อถือ

วิธีทำ OKRs Coaching

การจัดทำระบบบริหารผลงานอย่างต่อเนื่องแบบ Objectives and Key Results (OKRs)ให้สำเร็จขึ้นอยู่กับการวางแผนดำเนินงาน Action Plan แต่ละไตรมาส ในการกำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) หรือค่าเป้าหมายที่ตั้ง