หน้าแรก หน้ารวมบทความ ทำไมต้องอินเดีย ? (ภาค 1)

ทำไมต้องอินเดีย ? (ภาค 1)


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 235 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          ความน่าสนใจตรงที่ “คนไทยมองภาพ.. อินเดียมีแต่ขอทาน บ้านเมืองสกปรก ขี้โกง คุยโอ่ แต่คนอินเดีย ชอบของไทย ซื้อแม้กระทั่งกระป๋องพลาสติกแบรนด์ Made In THAILAND” …จากการเข้าร่วมสัมมนา งาน เปิดประตูสู่การค้าการลงทุนในอินเดีย เมื่อ 12 ตุลาคม 2558 ณ โรงแรม Swisssotel Le Concorde จัดโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจับมือสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือ

ทำไมต้องอินเดีย ? (ภาค 1)

         ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้ความสามารถ ด้านการเจรจาการค้าการลงทุนในอินเดีย หลายท่าน อาทิ คุณ อดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ คุณสุทธิชาติ นิลคูหา นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการสำนักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนและเอเชียกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ ….

         น่าประทับใจท่านผู้รู้ที่ได้ให้เกียรติมาเล่าหลากทรรศนะ กลเม็ดการทำงาน การวิเคราะห์ปัญหา จุดอ่อนจุดแข็งสำหรับนักลงทุน เรียกเป็นภาษานักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ว่าท่านใช้หลัก “ HR For Non HR” บริหารเป็น รู้จริง หลายเรื่องราว ส่งตรงจากวิถีชาวอินเดีย “คนอินเดียรักคนไทยและร่ำรวยมากกว่าที่เห็น”

         นักลงทุนไทยรวมทั้งนักจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจ ทุกภาคส่วนในไทย น่าจะมีไอเดียใหม่ในการบริหารจัดการภาคธุรกิจ ปรับองค์กร ได้มากโขทีเดียว กับข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย มิใช่แค่ลงทุนด้านการค้าเท่านั้น ภาคธุรกิจด้านบริการ ธุรกิจสุขภาพ ถือได้ว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่น่าสนใจทำรายได้เป็นกอบเป็นกำไม่น้อยกว่าภูมิภาคอาเซียนอื่นใด แต่หากไปไม่ถูกจุด ก็อาจดับฝันมากกว่าโด่งดัง

         ใกล้เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนี้ หลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมขยายกิจการ เปิดตลาดรองรับ การขยายตัวในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะภาครัฐที่มีนโยบายอำนวยด้านการค้าการลงทุนในจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษของไทย หากมองอินเดียไว้เป็นส่วนหนึ่งในการค้าการลงทุน ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย

         นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน นาย นเรนทรา โมดิ(Narendra Modi) ชายผู้ซึ่งเติบโตมาจากประชาชนคนเดินดินธรรมดา วัยเด็กครอบครัวมีอาชีพขายชาบนรถไฟ ต่อมาเปิดร้านค้าของตนเองเพื่อส่งเสียตนเองเรียนจบกระทั่งสนใจในด้านการเมืองการปกครอง เขาผู้นี้ได้เข้ามามีบทบาทเป็นมุขมนตรีเปลี่ยนแปลงรัฐคุชราต (Gujarat) ให้เป็นรัฐที่มีความรุ่งเรืองทั้งด้านศาสนา สังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก

         ล่าสุดเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา พรรค ภาติยะชนตะ(Bharatiya Janata Party:BNP) โดย นายนเรนทรา โมดิ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอินเดีย ชนะคะแนนการเลือกตั้งคู่แข่งอย่างถล่มทลาย และเขามีนโยบายเพื่อนำ สังคม เศรษฐกิจอินเดียสู่สายตาชาวโลกอย่างน่าจับตามอง

         ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย จะส่งเสริมการค้าเสรีอาเซียนบวกหก ซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันของอาเซียน โดยรวม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย ช่วยบูรณาการการค้า การลงทุนในภาคอาเซียนให้ยิ่งใหญ่ไปทั่วภูมิภาคของโลก คือช่องทางนักลงทุนทุกภาคส่วนของไทย ที่ต้องรีบหยิบชิ้นปลามันนี้ไว้ !! 

         เรามาทำความรู้จักดินแดนภารตะแห่งนี้ ทำไมจึงน่าจับตามองไม่น้อยไปกว่าจีนหรือญี่ปุ่น กัน??

         สาธารณรัฐอินเดีย ภาษาราชการ ใช้ภาษาฮินดีและภาษาอังกฤษ เมืองหลวง นิวเดลี เมืองใหญ่ที่สุด คือมุมไบ ประชากร 1,222,650,000 (มากกว่าหนึ่งพันล้านคน)ความหนาแน่นประชากร 329 คน/ตร.กม. ใช้สกุล เงิน รูปี(Rs.) ประเทศใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลก ด้านเศรษฐกิจมีอำนาจในการซื้อมากเป็นอันดับสี่ของโลกโอโฮ !! แล้วที่ผ่านมา ทำไมนักลงทุนไทยจึงจับตามองน้อยมาก ..

         เราในฐานะผู้บริหาร นักลงทุน เจ้าของกิจการ ชาวบ้านที่มีสินค้าพื้นเมืองอยากขาย นัก HR นักบริการจะสามารถเปิดตลาด สร้างความแตกต่างความได้เปรียบทางการแข่งขันการค้าและการลงทุนอินเดีย ได้อย่างไร

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 25 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 235 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


วิธีปรับเงินเดือนค่าตอบแทนหลังประเมินผล KPI

หลังประเมินผลการปฏิบัติงานหรือประเมินผล KPI แล้วนำผลคะแนนที่ได้มาคำนวณเพื่อพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการบริหารผลงานมีแนวทางในการปรับค่าตอบแทนหลายแบบแตกต่าง

เทคนิคการสร้างทัศนคติเชิงบวกผู้ให้บริการ

งานบริการคืองานที่ต้องพบปะกับผู้คนที่หลากหลายอารมณ์ ทั้งเข้ามาใช้บริการ ติดต่อประสานงาน ขอความช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ ผู้ให้บริการต้องมีความสามารถควบคุมอารมณ์จัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที

กำหนด KPI ตามกรอบ BSC และMBO

การจัดทำระบบประเมินผลงานกำหนด KPI ตามกรอบ BSC หรือ MBO มีความแตกต่างกันอย่างไร เลือกใช้แบบไหนเหมาะสมกว่ากัน ? ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (Key Performance Indicators :KPIs) เป็นเครื่องมือ

กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจพนักงานแบบ4S (Strategies for Motivating Employees)

นอกจากการให้สวัสดิการที่ดี การขึ้นเงินเดือนเลื่อนขั้น การมีโบนัสปลายปีอาจไม่ได้ตอบโจทย์เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานสำหรับทุกคน องค์กรที่ต้องการธำรงรักษาคนเก่ง คนมีฝีมือไว้ได้ องค์กรวางกลยุทธ์

แนวคิดและเทคนิคบริหารผลการปฏิบัติงาน

การจัดทำมาตรฐานผลการปฏิบัติงานทั้งรายบุคคล หน่วยงาน แผนก และองค์กร ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในในการดำเนินธุรกิจแก่ลูกค้าคู่ค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ทำให้องค์กรมีมาตรฐานน่าเชื่อถือ

วิธีทำ OKRs Coaching

การจัดทำระบบบริหารผลงานอย่างต่อเนื่องแบบ Objectives and Key Results (OKRs)ให้สำเร็จขึ้นอยู่กับการวางแผนดำเนินงาน Action Plan แต่ละไตรมาส ในการกำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) หรือค่าเป้าหมายที่ตั้ง