หน้าแรก หน้ารวมบทความ 20 วิธีสร้างความประทับใจในการต้อนรับลูกค้า

20 วิธีสร้างความประทับใจในการต้อนรับลูกค้า


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 1860 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

         “กฎแห่งการบริการข้อ1 คือ ลูกค้าเป็นผู้ถูกเสมอข้อ 2 หากพบว่าลูกค้าทำอะไรผิด ให้กลับไปดูข้อ 1”  ดังนั้นในการทำงานทุกหน้าที่ต้องมีบริการเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่เว้น แม้แต่พ่อค้า แม่ค้า ครู อาจารย์ พนักงานในโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ธุรการ คนขับรถ หรือฝ่ายบริหารองค์กร
          คุณต้องสร้างภาพลักษณ์นักบริกรมืออาชีพ ให้อยู่อันดับหนึ่งในใจลูกค้าให้ได้ ถือเป็นการสร้างความประทับใจ “ที่ไม่มีวันลืม” และเป็นผู้มีทักษะ องค์ความรู้ดีในการบริการ งานของตนเอง 

          20 วิธีสร้างความประทับใจในการต้อนรับลูกค้า

20 วิธีสร้างความประทับใจในการต้อนรับลูกค้า


     1. จงยิ้มและสวัสดีทุกครั้ง เมื่อแรกพบลูกค้า
     2. จงกล่าวคำทักทายลูกค้าก่อนเสมอ และมีความเป็นกันเอง
     3. เปิดประตูให้ลูกค้าทุกครั้ง เมื่อมีโอกาสอยู่ตรงหน้า และเชิญชวนนั่ง
     4. ยกย่องให้เกียรติลูกค้าเสมือนแขกคนสำคัญทุกครั้ง ไม่เปลี่ยนแปลง
     5. ต้อนรับลูกค้าทุกคนอย่างเสมอภาค ไม่เลือกฐานะ อาชีพ
     6. จำชื่อลูกค้าได้ พร้อมเรียก คุณ และ ยศ นำหน้า ได้ถูกต้อง
     7. ยิ้มแย้มแจ่มใส ขณะให้บริการทุกครั้ง หากพบว่าตนไม่พร้อมให้แจ้งแก่หัวหน้างาน
     8. ทำงานด้วยความกระตือรือร้น ทุกครั้ง ที่ปฏิบัติหน้าที่
     9. ทำงานอย่างรวดเร็ว เป็นขั้นตอน ถูกต้องตามมาตรฐานงาน
     10. รับผิดชอบ ติดตามงานดูแลลูกค้าให้สำเร็จตามหน้าที่ โดยเร็ว
     11. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง หน่วยงานและองค์กร
     12. ไม่หวังผลประโยชน์ หรือสิ่งของตอบแทนในหน้าที่จากลูกค้า
     13. มาก่อนเริ่มงาน อย่างน้อย 15-30 นาที ทุกครั้ง เพื่อเตรียมงาน
     14. ตรวจสอบ ตรวจทานอุปกรณ์ที่ต้องให้บริการลูกค้า ให้อยู่สภาพพร้อมใช้
     15. มีความใส่ใจต่อลูกค้าและสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกค้า ช่วยเหลือลูกค้าด้วยความมีน้ำใจ
     16. มีความรอบรู้ ในเรื่องหน้าที่งาน ธุรกิจบริการที่ตน รู้เท่าทันสถานการณ์
     17. มีไหวพริบปฏิภาณดี สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีและรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเมื่อมีเหตุการณ์นอกเหนืออำนาจการรับผิดชอบ
     18. หากมีลูกค้ามาก ให้ยิ่งสนใจลูกค้าตรงหน้าและรอบข้างให้มากขึ้นเท่าตัว ให้กล่าวคำ “ขอโทษหรือขออภัย ค่ะ/ครับ”“กรุณา รอสักครู่ค่ะ/ครับ” “บอกสาเหตุ ปัญหา…..”
     19. พยายามประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ลูกค้า หรือช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานบริการลูกค้า ให้รับบริการได้ทันท่วงที
     20. กล่าวขอบคุณด้วยรอยยิ้ม ทุกครั้งหลังบริการและเชิญชวนมารับบริการครั้งหน้า “ขอบคุณค่ะ/ครับ โอกาสหน้า เชิญมารับบริการใหม่”

          การบริการ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นงานที่อยู่ภายในใจของทุกคน หากเราได้มีโอกาสบริการลูกค้าภายในหรือภายนอก ไม่ใช่เพียงบริการตามหน้าที่แต่เป็นการบริการด้วยใจ มิถูกใครบังคับมา ย่อมทำให้ผู้บริการมีความสุขทางใจอย่างไม่มีอะไรเปรียบ
หากเราสามารถฝังวัฒนธรรมการบริการ ให้อยู่ภายใต้รากลึกของจิตใจพนักงานทุกคน ย่อมทำให้องค์กรมีค่านิยมที่ดีจากรุ่นสู่รุ่น มีการอบรมพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ลองนำ 20 ข้อนี้ ไปใช้กันนะคะ อย่างน้อย คุณจะเห็นรอยยิ้มจากลูกค้า และได้มิตรไมตรีเพิ่มขึ้นอย่างน่าแปลกใจ
          แม้ ท่านมหาตมะ คานธี ยังกล่าวว่า
          “ลูกค้า คือ แขกคนสำคัญที่สุดที่ได้มาเยือนเรา ณ สถานที่แห่งนี้ เขามิได้มาเพื่อพึ่งพาเรา เราต่างหากที่ต้องพึ่งพาอาศัยเขา เขามิใช่บุคคลที่มาขัดจังหวะการปฏิบัติงานของพวกเรา หากแต่ว่าการรับใช้เขา คือวัตถุประสงค์แห่งงานของพวกเรา เขามิใช่บุคคลแปลกหน้า แต่เขาคือส่วนหนึ่งแห่งสถานที่แห่งนี้ บริการจากเรามิใช่การสงเคราะห์เขา เขาต่างหากที่กำลังสงเคราะห์พวกเรา ด้วยการยอมให้พวกเรา ได้มีโอกาสรับใช้เขา”
 

คำถามชวนคิด

    หากพบปัญหาลูกค้ามาร้องเรียน โวยวายเสียงดัง ตรงหน้าเคาน์เตอร์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ท่านไม่ได้รับผิดชอบแต่เพื่อนพนักงานที่ดูแลท่านดังกล่าว ในวันนี้หยุดงาน ท่านควรทำอย่างไร? 

    1. ยืนสงบสติอารมณ์รับฟัง นัดลูกค้ามาพบใหม่พรุ่งนี้ เพราะวันนี้พนักงานท่านนั้นหยุด
    2. เชิญลูกค้าเข้าห้องรับแขกเพื่อไม่ให้ลูกค้าอื่นตื่นตระหนกแจ้งหัวหน้างานให้ทราบเรื่องและให้หัวหน้าช่วยแก้ปัญหา
    3. บอกลูกค้าให้สงบสติ อารมณ์สักครู่ และต่อโทรศัพท์ให้ลูกค้าคุยกับพนักงานท่านดังกล่าว เพื่อให้เขาทำความเข้าใจลูกค้าดีที่สุด
    4. แจ้งลูกค้าว่า เราเป็นใคร มีหน้าที่อะไร รับฟังข้อมูล ตรวจสอบแก้ปัญหาและ แจ้งหัวหน้างานให้ทราบ ดูแลลูกค้าให้ได้ความถูกต้องตามระเบียบงาน ให้สำเร็จ
ขอบคุณภาพ
www.verticalresponse.com
Customer Service Ideas – 3 Ways to Wow
วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 01 มกราคม 2564

จำนวนผู้เข้าชม 1860 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?

อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง

ทฤษฎีตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์และการบริการ

การเลือกใช้สินค้า และบริการนั้นเกิดจากการเรียนรู้ของผู้เลือกใช้ อาจมาจากข้อมูลสื่อโฆษณาในช่องทางต่างๆ ประสบการณ์คำบอกเล่า ประสบการณ์ตรงที่ได้รับมาจากผู้ใช้บริการ

พฤติกรรมบริการต่อลูกค้าทั่วไป คลินิก โรงพยาบาล

การบริการไม่ใช่สินค้าที่สามารถคงรูปรส กลิ่น เสียงได้เมื่อเปลี่ยนผู้ให้บริการพฤติกรรมการส่งมอบบริการอาจเปลี่ยนไปตามลักษณะของบุคคลนั้น สิ่งที่ทำให้พฤติกรรมการบริการคงที่คงอยู่นั้นคือ การสร้าง Empathy

การสื่อสารแบบ AIDET Plus ทุกแผนกในโรงพยาบาลทำอย่างไร ?

ในอดีตผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามหลักใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Descriptions) โดยปฏิบัติงานแต่ละหน้าที่ตามขั้นตอนงาน (Work Instruction) ที่จัดทำขึ้นมาจากมาตรฐานของแต่ละวิชาชีพตามหลักการความปลอดภัย

ความคาดหวังผู้รับบริการ 6 แบบ

อันดับแรกที่ผู้รับบริการทุกคนคาดหวังแน่นอนคือความสะดวกสบาย ความรวดเร็วปลอดภัย ความมั่นใจในการได้รับบริการ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้รับบริการคาดหวังนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของลูกค้าผู้รับบริการ

Human Touch In Healthcare ด้วย Touching & Feeling

Human Touch ถูกพูดถึงในการดูแลรักษาสุขภาพ มุมมองการมีจิตบริการมานาน ควบคู่กับคำว่า Empathy (การเอาใจใส่) ซึ่งหากพูดถึงแง่การลงมือปฏิบัติงาน Human Touch มีแนวทางนำไปใช้ได้อย่างไร ?