หน้าแรก หน้ารวมบทความ วิธีบริการที่ยอดเยี่ยมคือการปลูกถั่ว

วิธีบริการที่ยอดเยี่ยมคือการปลูกถั่ว


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 16798 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

          ถ้ากล่าวถึงธุรกิจที่กำลังเติบโตติดอันดับต้นๆในประเทศไทยคงหนีไม่พ้นเรื่องของความสวย ความงาม เพราะไม่ว่ากี่ยุคสมัย ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง” เห็นจะจริงดังนั้น ดูจากการจัดอันดับ 10 ธุรกิจที่ควรลงทุนมากที่สุด ปี 2556 ยกตัวอย่างใน 3 อันดับ อันดับแรกคือ ธุรกิจการแพทย์และความงาม อันดับ 2 ธุรกิจด้านเทคโนโลยีสื่อสาร อันดับ 3 คือ ธุรกิจด้านสื่อโทรทัศน์  การแข่งขันด้านบริการจึงต้องที่ดีที่สุดเพื่อสร้างความประทับใจและรักษาลูกค้าไว้ให้ภักดีต่อแบรนด์สินค้า(Brand Royalty) ตราบนานเท่านาน

         เมื่ออาทิตย์ก่อน ได้มีโอกาสคุยกับผู้จัดการที่มารับการอบรมถึงการแก้ปัญหาการบริการทุกสาขามีกลยุทธ์ใดที่ช่วยให้พนักงานรักองค์กร สร้างภาพลักษณ์การบริการทุกสาขาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ฉันจึงได้ถามผู้จัดการว่า “คุณมีจุดยืนในการทำธุรกิจเรื่องอะไร นโยบายหลักของบริษัทคืออะไร เป้าหมายที่ชัดเจนมี ?” เขาหันไปถามพนักงานที่มาด้วยความไม่แน่ใจในนโยบายและเป้าหมายบริษัท และคำตอบก็ไม่ต่างอะไรไปจากความไม่แน่ใจในจุดยืนของการทำงาน หลายครั้งที่ทั้งฝ่ายบริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างานและทีมงาน ประชุมกันอย่างเข้มข้น ถกเถียงปัญหาแทบจะรู้แพ้รู้ชนะกันไปข้าง เลขานุการจดรายงานการประชุมยาวเหยียดหลายสิบหน้า ใช้เวลากับการอยู่ในห้องเย็นนั้นนานกว่า 10  ชั่วโมง แต่เมื่อสรุปผลปลายปี ผลกำไรคงที่  แย่กว่าเดิม หรือขยับมาเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์  ที่ร้ายไปกว่านั้นคือปัญหาเดิมๆของการผลิตงาน การบริการ ยังกลับมาเป็นเรื่องซ้ำๆ ไม่รู้จักจบสิ้น  กลยุทธ์ที่นำเสนอในรายงาน 365 วันที่ผ่านมาไม่มีใครนำไปปฏิบัติเพราะไม่มีฝ่ายใดนำปัญหามาแก้ไขอย่างจริงจัง น่าเสียดายยิ่งนักกับเวลาที่สูญเสียไปกับการประชุม สำนวนไทยเคยสอนเราว่า “น้ำขึ้นให้รีบตัก”แต่ก็อีกนั่นแหล่ะ เราต้องตักด้วยภาชนะใด วิธีไหน ใครตัก ตักแล้วไปเก็บที่ไหน มิฉะนั้นการลงทุนก็สูญเปล่าเหมือน “ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ”

         หากท่านได้อ่านประวัติและแนวคิดการทำงานวงการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จระดับโลก แอนิต้า รอดดิก อดีต CEOและผู้ก่อตั้งผลิตภัณฑ์ความงามเน้นหลักธรรมชาติ The body shop เน้นการทำงานกับคนและทำประโยชน์เพื่อการเป็นส่วนหนึ่งรับผิดชอบสังคม (Corporate Social Responsibility) และเคยได้รับรางวัลสินค้าที่คนนิยมในอังกฤษมากที่สุดเป็นอันดับ 2  เป็นต้น สิ่งหนึ่งที่ไม่ต่างจากแนวคิดการดำเนินธุรกิจของบริษัทชั้นแนวหน้าในไทย คือ “คน เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กร”

          เราจะทำอย่างไรให้บริการยอดเยี่ยมที่สุดเสมือนการวิจัยการปลูกถั่วของ เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) บิดาแห่งพันธุศาสตร์ ผู้คิดค้นหลักการถ่ายทอดทางพันธุกรรม(ยีน)ของมนุษย์ เมนเดลใช้เวลาทดลองถึง 8 ปี ใช้ต้นถั่ว 28,000 ต้น ทำการทดลอง 7 ครั้ง  เพื่อหาคำตอบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสำเร็จ   ไม่ต่างอะไรไปกับหลายท่านเคยได้ยินเรื่องของพิมพ์เขียวบริการแต่ไม่มีการนำมาใช้และทำอย่างจริงจัง

วิธีบริการที่ยอดเยี่ยมคือการปลูกถั่ว

โดยทุกสิ่งทุกอย่างมีปัจจัยจากอะไร ?

            1 เดือนที่ผ่านมา ลูกศิษย์ท่านหนึ่งมาปรึกษาในธุรกิจอาหารเสริม เรื่อง ลูกค้าต่างชาติร้องเรียนการส่งสินค้าไม่ตรงเวลาและขอคืนสินค้าทั้งหมด (เพราะเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจของชาวต่างชาติอย่างมาก) รายได้จำนวนไม่ต่ำกว่าหลายล้านบาทของเธอ ? เธอนั่งทรุดตัวลงอย่างอ่อนแรงและปรับทุกข์ด้วยสีหน้าอิดโรย คำถามของฉันคือกระบวนการแก้ปัญหามีอะไรบ้าง นอกจากยอมรับข้อปฏิเสธจากการผิดสัญญาแบบไม่มีเงื่อนไข?

เธอประชุมทุกแผนกงานและปรับแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรอย่างเร่งด่วน ไตรมาสแรกนี้ ทุกคนในทีมงานต้องได้รับการอบรมพัฒนาเพิ่มขีดศักยภาพการทำงาน ฝ่ายบริหารและหัวหน้างานต้องมีนโยบาย มีวิสัยทัศน์ที่ดีเยี่ยมแนวทางเดียวกับบริษัท ทุกคนในบริษัทต้องมีศักยภาพคิดและการแก้ปัญหาที่ดีเยี่ยม เพราะเธอพบว่าการส่งสินค้าผิดเวลามาจากฝ่ายผลิตและจัดส่งรอการเซ็นอนุมัติฝ่ายบริหารที่เดินทางไปต่างจังหวัดเร่งด่วน ไม่คิดวิธีการแก้ปัญหาแบบอื่น

         การคิดอย่างแยบยล มีกระบวนการวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนอย่างเมนเดล ตั้งแต่ต้นเหตุมาปลายเหตุและปลายเหตุมาหาความจริง จักทำให้เรามองเห็นจุดเล็กๆที่ต้องแก้ไข กาลิเลโอ เคยกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

          “เราไม่สามารถสอนให้คนประสบความสำเร็จได้แต่เราสามารถสอนให้คนค้นหาแนวทางเพื่อความสำเร็จได้”

          ดังนั้น การเพิ่มพูนความรู้ในงานอย่างต่อเนื่องเป็นอาวุธทางสมองที่เฉียบคม ทุกเทคนิคการทำงานและองค์ความรู้ที่ได้อบรมมาจะเป็นคลังทางปัญญา เพื่อให้ค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา วิเคราะห์ทุกวิกฤติอย่างชาญฉลาด หากองค์กรต้องการคนเก่ง คนดี มีความรู้ หนึ่งในนโยบายหลักของการพัฒนาคือ การฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกให้มีทักษะที่ดีเยี่ยมในงาน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาคือต้องสร้างแรงจูงใจ  รางวัลตอบแทน สวัสดิการที่ดีแก่พนักงานในการทำงาน มองเห็นคุณค่าของทุกตำแหน่งเท่าเทียมกัน เพราะองค์กรก็เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ผลิดอกออกผลได้ดีต้องอาศัยรากแก้ว  ใบ ลำต้น ในการแผ่กิ่งก้านสาขา เมื่อพายุใหญ่พัดกระหน่ำมากี่ครั้ง รากยังยึดให้ต้นไม้ทรงตัวอยู่ได้ ไม่ไหวเอนไปทางใด ดังนั้น หัวใจของการบริการเพื่อสร้างฐานลูกค้าและความรักในแบรนด์สินค้า ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องสร้างความจงรักภักดีในตัวพนักงานต่อองค์กร (Organization Royalty  ) เช่นกัน

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 ธันวาคม 2563

จำนวนผู้เข้าชม 16798 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ

เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป

เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus

เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)

จิตวิทยาบริการและประโยชน์การเรียนรู้

จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว

ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus

ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร

หลักสูตรการสื่อสาร AIDET Plus communications สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

ยุค MK6.0 การจัดอบรมสำหรับบุคลากรสายงานสุขภาพทุกตำแหน่งในงานด้าน Healthcare เปลี่ยนไปในรูปแบบเน้นการสื่อสาร(Communication)กับผู้รับบริการให้มากขึ้น มีการเชื่อมโยงทั้งด้านการสัมผัสด้วยตาและรับรู้ด้วยใจ