หน้าแรก หน้ารวมบทความ Service Design ทำอย่างไร ?

Service Design ทำอย่างไร ?


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 890 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     ใครๆก็พูดถึงการทำการตลาดบนโลกออนไลน์และออฟไลน์อย่างมาก ทั้งทางเพจ เว็บไซต์ Podcast หรือสื่อสังคมอย่าง Clubhouse ยิ่งในช่วงที่วิกฤติทางเศรษฐกิจ คนทำงานประจำออกมาพัฒนาทำแบรนด์ของตนเอง หลายธุรกิจเปลี่ยนมุมมองการพัฒนาแบรนด์เพิ่มทางเลือกสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น การแข่งขันด้านสินค้าอุปโภคบริโภคบางอย่างยอดขายอาจตกลงด้วยตัวสินค้า ระยะเวลาพฤติกรรมผู้ซื้อ  มีส่วนสำคัญให้สินค้าได้รับการยอมรับ ผู้คนบนโลกออนไลน์มองเห็น

      เราสามารถเพิ่มยอดขายเพิ่มลูกค้าใหม่ทำอย่างไรดี ?

      นี่คือคำถามที่ทำให้เราต้องมองหาตัวช่วยเพิ่มยอดขาย นั่นคือ โฆษณาช่องทางไหนที่ลูกค้าเข้าถึง เห็นมาก … การยิงแอดเฟสบุ๊ค แอดไลน์ แชทไลน์ ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เป็นอีกทางเลือกที่ทำให้เข้าถึงผู้ใช้จริง ทั่วโลก? 

      แต่นั่นคือการลงทุนที่เจ้าของธุรกิจต้องมีทุนสำรองในการโฆษณาแต่ละเดือน ซึ่งไม่ใช่การลงทุนแค่หลักพันหลักหมื่นเท่านั้น บางบริษัทลงทุนโฆษณาทางออนไลน์ตัวเลข 6 หลัก(ไม่นับการโฆษณาหน้าจอทีวี)

      ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจในการเลือกโฆษณาพัฒนาแบรนด์ การออกแบบบริการเสมือนการวางรากฐานสำคัญในการทำงาน เพราะการเริ่มทำโฆษณาอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่แท้จริง ว่าสินค้าและบริการจากธุรกิจท่านคือสิ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้าหรือไม่ ? ทำอย่างไรให้แบรนด์ของท่านคือแบรนด์ในใจลูกค้าตลอดไป

      Service Design เป็นการออกแบบบริการ ที่ไม่ใช่แค่หาสิ่งที่ลูกค้าต้องการแต่ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอุปโภคเพื่อค้นหาช่องทาง วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งลูกค้า คู่ค้า พนักงาน พร้อมสังเคราะห์องค์ความรู้การบริการใหม่ๆ

      เป็นการออกแบบการบริการโดยบริหารประสบการณ์ลูกค้าที่เรียกว่า Customer Experience Management (CEM) มองทั้งโครงสร้างการทำงานรอบด้าน ไม่มองมุมใดมุมหนึ่งที่ลูกค้ามาสัมผัส (Touch Point) ทางตรงฝ่ายเดียว ออกแบบวิเคราะห์ถึงจุดสัมผัสที่ส่งผลต่อความรู้สึกการกระทำอาจส่งผลทางลบ (Pain Point) ทำให้เสียลูกค้าไป 

     นำผลวิเคราะห์ที่ดีที่ได้รับนั้นออกแบบประสบการณ์ใหม่ๆ ตามเส้นทางที่ลูกค้าต้องเจอระหว่างรับบริการ(Customer Journey ) นำมาสร้างคุณค่าผู้ให้บริการและผู้รับบริการ

     ขั้นตอนการออกแบบบริการ (Service Design) 4 ขั้นตอน ดังนี้ 

     1. สำรวจข้อมูลและเก็บรวบรวม (Survey and Exploration) 

          : สำรวจแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ทั้งตัวสินค้า กระบวนการ ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ช่องทางบริการ ตั้งวัตถุประสงค์/กลุ่มประชากรก่อนออกแบบสำรวจ เพื่อนำข้อมูลที่ข้อมาใช้ประโยชน์จริงในการสรุปข้อมูล ทั้งเพศ  อายุ อาชีพ รายได้ ศาสนา การใช้จ่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสินค้าบริการของท่านเป็นกลุ่มสินค้าบริการประเภทใด

     2. วิเคราะห์ข้อมูลบริการที่อาจพบทางตรง ทางอ้อม (Data Analytic )

          : นำข้อมูลในข้อที่ 1 มาวิเคราะห์หาปัจจัยที่เกี่ยวข้องรอบด้าน โดบสรุปเป็นส่วนๆ ตามการสำรวจข้อมูลทั้งหมดประชุมแต่ละแผนก บุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์เส้นทางการทำงาน การบริการ สร้างแผนงานสำคัญในการแก้ปัญหา อันอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

     3. หาแนวคิดนวัตกรรมการบริการ (Service Innovation)

          : นำกระบวนการวิเคราะห์สำรวจมาจัดทำชุดข้อมูลแนวคิดพัฒนานวัตกรรมบริการ

      โดยขั้นนี้สำคัญมากต้องอาศัยการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับนโยบายองค์กร และสามารถทำได้จริงไม่ก่อให้เกิดการซ้ำซ้อนยุ่งยาก เช่น 

  • วางมาตรฐาน/ขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่งาน(WI/SOP)
  • มาตรฐานการบริการ Service Storyboard
  • จุดรับบริการแบบ One Stop Service
  • สร้างภาพลักษณ์การบริการเน้นตัวบุคคลแบบ Personal Branding

      4. นำไปใช้ในการปฏิบัติงานหรือดำเนินงาน (Implementation)

           : นำขั้นที่ 3 วางกรอบเวลาในการใช้จริง มีการเก็บข้อมูล ติดตามFollow upเป็นระยะ

      ในวันนี้ จึงมีนักการตลาดดิจิทัลให้ความรู้และโค้ชวิธีทำการตลาดออกมาจำนวนมากขึ้น หาแนวคิดการโฆษณาด้านการพัฒนาแบรนด์ การตลาดดิจิทัลออกมามากมายเพื่อให้ผู้ค้าคู่ค้ามีช่องทางการขายสินค้าบริการเข้าถึงผู้ซื้อได้ตรงใจ

      โดยก่อนที่จะตัดสินใจเลือกในการพัฒนาแบรนด์ พัฒนาตลาดหรือโฆษณาในช่องทางใดก็ตาม ผู้เขียนแนะนำให้เจ้าของสินค้าและบริการทั้งภาครัฐภาคเอกชน ทำการศึกษาเรื่อง Service Design : การออกแบบบริการตนเองให้รอบด้านเสียก่อน 

      จึงควรตัดสินใจเลือกทำการตลาดด้วยตนเองหรือเลือกใช้บริการ Outsource /Consult เข้ามาดูแลรับผิดชอบการตลาด หากเข้าใจขั้นตอนการออกแบบการบริการอย่างละเอียด สามารถกระตุ้นบุคลากรที่มีความสามารถสูง (High Potential People) ดำเนินงานได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสียงบประมาณก้อนโตไปจ้างบุคคลภายนอกมาพัฒนาบริการสิ่งที่ท่านรู้และเข้าใจอย่างดี  เว้นเสียแต่ อยากให้มีสิ่งใหม่ๆเข้ามาพัฒนาเพิ่มเติม และไม่คิดมากเรื่องการลงทุนเลข 6-8 หลัก ในส่วนนี้ ย่อมทำได้ ..

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 08 มีนาคม 2566

จำนวนผู้เข้าชม 890 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ

เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป

เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus

เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)

จิตวิทยาบริการและประโยชน์การเรียนรู้

จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว

ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus

ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร

หลักสูตรการสื่อสาร AIDET Plus communications สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

ยุค MK6.0 การจัดอบรมสำหรับบุคลากรสายงานสุขภาพทุกตำแหน่งในงานด้าน Healthcare เปลี่ยนไปในรูปแบบเน้นการสื่อสาร(Communication)กับผู้รับบริการให้มากขึ้น มีการเชื่อมโยงทั้งด้านการสัมผัสด้วยตาและรับรู้ด้วยใจ