หน้าหลัก ค้นหา"ทุนมนุษย์" ข้อมูลเกี่ยวกับ"ทุนมนุษย์"

ข้อมูลเกี่ยวกับ Tag นี้

ทุนมนุษย์

กด Share ให้เพื่อน

Facebook Twitter Line
ทุนมนุษย์
1

"ทุนมนุษย์" (human capital) เกิดขึ้นจากแนวทางเศรษฐศาตร์ ที่มิได้มองทุนเป็นแต่เพียงตัวเงินอย่างเดียว แต่จำแนกทุนของออกเป็นหลายลักษณะ เช่น ทุนธรรมชาติ ทุนทางสังคม เป็นต้น ซึ่งทุนมนุษย์ ในปัจจุบันได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชนว่า เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันองค์กรสามารถก้าวไปถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

"ทุนมนุษย์" เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ที่ไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายให้กับบุคคลอื่นได้ "ทุนมนุษย์" จึงกลายเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าขององค์กร ด้วยเหตุเพราะ “ทุนมนุษย์” เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพ และประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานให้กับองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ

"ทุนมนุษย์" เป็นสินทรัพย์เชิงนามธรรมที่ไม่อาจตีค่าเป็นตัวเงินได้ จึงถูกจัดไว้ในประเภทของสินทรัพย์ที่ไม่อาจวัดได้ (Intangible Assets) การจะทำให้ทุนมนุษย์สามารถแสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อผลักดันพันธกิจขององค์กรให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรต้องเลือกสรรเครื่องมือเพื่อบริหารจัดการทุนมนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และกลายเป็นเครื่องมือที่องค์กรใช้สำหรับผลักดันกระบวนงานตามกรยุทธที่วางแผนไว้

ซึ่งเราอาจพอสรุปได้ว่า "ทุนมนุษย์" เป็นปัจจัยการผลิตที่มีคุณค่าที่สุดในบรรดาปัจจัยการผลิตอื่นๆ เพราะนอกจากทำหน้าที่ผลิตแล้ว ยังต้องรับผิดชอบถึงการผลิตที่จะมีในอนาคตด้วย แต่ก่อนที่มนุษย์จะกลายเป็นปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีการลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะ ประสบการณ์ สิ่งที่มนุษย์สั่งสมมา หล่อหลอมรวมขึ้นมาจนก่อเกิดขึ้นมาเป็นตัวเราเองในวันนี้ เราจะเรียกว่า "ทุนมนุษย์"

Lynda Gratton และ Sumantra Ghoshal ได้ให้ความหมายของ “ทุนมนุษย์” ว่าหมายถึง ส่วนผสมของ 3 สิ่ง คือ

     1.  ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital)  ประกอบด้วย ความรู้และความสามารถในการเรียนรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทักษะ ประสบการณ์ที่คนสะสมไว้ รวมทั้งความรู้ที่อยู่ในตัวเราที่เรียกว่า Tacit Knowledge

     2.  ทุนทางสังคม (Social Capital) ประกอบด้วยเครือข่ายความสัมพันธ์

     3.  ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) ประกอบด้วยคุณลักษณะต่างๆเช่น การรับรู้ตนเอง (Self Awareness) ความมีศักดิ์ศรี (Integrity) การมีความยืดหยุ่น (Resilience)

ข้อแตกต่างของทุนมนุษย์กับทุนทางการเงิน เมื่อเราพิจารณาจากนิยามของ "ทุนมนุษย์" จะพบข้อแตกต่างระหว่าง "ทุนมนุษย์" "กับทุนทางการเงิน" ที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้

- ทุนมนุษย์เป็นทุนที่องค์กรใช้แล้วไม่มีวันหมด แตกต่างจากทุนทางการเงินที่ใช้แล้วหมดไป

- ทุนมนุษย์เป็นทุนที่ยิ่งเราใช้งานยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งเพิ่มมูลค่า เช่น การสอนงานผู้อื่น ยิ่งสอนมากยิ่งเกิดความชำนาญและองค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ทุนทางการเงินยิ่งใช้ยิ่งหมดไป

- ทุนมนุษย์ไม่มีค่าเสื่อมแต่กลับพัฒนาเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์ แตกต่างกับทุนทางการเงินมีที่มีโอกาสความเสื่อมของมูลค่าจากการปรับเปลี่ยนค่าของเงินที่ลดลงตามสภาวะเงินเฟ้อ

การพัฒนาทุนมนุษย์ เป็นกระบวนการที่ดำเนินการเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อให้มีศักยภาพพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามภารกิจที่องค์กรมอบหมายให้ปฏิบัติ โดยเครื่องมือที่ใช้สำหรับพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับ นั่นคือ การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development) ถือเป็นศิลปะในการเลือกสรรคนใหม่และใช้คนเก่า ในลักษณะที่จะให้ได้ผลงาน และการปฏิบัติงานจากบุคคลเหล่านั้นให้มากที่สุด ทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยผ่านการกำหนดเป้าหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Target of Human Resource Management) ที่เป็นหลักพื้นฐานตามแนวคิด “RDMU” ซึ่งมีเป้าหมายต่างๆ ดังนี้คือ 1. สรรหา (Recruitment and Selection ) 2. พัฒนา (Development) 3. รักษา (Maintenance) และ 4. ใช้ประโยชน์ (Utilization)

2

ทุนมนุษย์ คือ ความสามารถและศักยภาพของมนุษย์ในการเรียนรู้ สร้างสรรค์ และพัฒนาตนเองและสังคม ทุนมนุษย์ประกอบด้วยส่วนต่างๆ เช่น ทุนปัญญา, ทุนอารมณ์, ทุนจิตวิญญาณ, ทุนสุขภาพ, ทุนสังคม เป็นต้น

ทุนมนุษย์มีความสำคัญในการช่วยให้มนุษย์สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับตนเองและสังคม ทุนมนุษย์จะมีประสิทธิภาพต่างกันขึ้นอยู่กับการพัฒนา, การบำรุงรักษา, และการใช้ประโยชน์

3

Human capital is a term that refers to the skills, knowledge, abilities, and attributes of the people who work in an organization or a society. Human capital is considered as an intangible asset that can enhance the productivity, performance, and innovation of an organization or a society. Human capital can also influence the economic, social, and cultural development of a country or a region.

Human capital is important because it can affect the competitiveness, growth, and sustainability of an organization or a society. Human capital can also contribute to the well-being, happiness, and quality of life of the people. Human capital can also reflect the diversity, creativity, and potential of the population.

Human capital can be applied to different domains, such as economics, education, management, human resources, etc. Human capital can also vary in level, quality, and measurement. For example, in economics, human capital can be divided into individual human capital and social human capital. Individual human capital is the part of human capital that is related to the personal characteristics and achievements of a person. Social human capital is the part of human capital that is related to the social networks and relationships of a person. In education, human capital can be measured by the level of education, training, and certification of a person. In management, human capital can be measured by the performance, satisfaction, and retention of a person.

Human capital can also be influenced by various factors, such as the investment, development, management, and utilization of human resources. Some of the common factors that can affect human capital are:

  • Education: Education can provide people with the knowledge and skills that are necessary for their work and life. Education can also increase the employability, income, and mobility of people.
  • Health: Health can affect the physical and mental well-being of people. Health can also affect the availability, productivity, and longevity of people.
  • Culture: Culture can shape the values, beliefs, attitudes, and behaviors of people. Culture can also affect the motivation, communication, and collaboration of people.
  • Technology: Technology can provide people with the tools and resources that can enhance their work and life. Technology can also affect the demand, supply, and quality of human capital.