หน้าแรก หน้ารวมบทความ ความคาดหวังผู้รับบริการ 6 แบบ

ความคาดหวังผู้รับบริการ 6 แบบ


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 4877 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     อันดับแรกที่ผู้รับบริการทุกคนคาดหวังแน่นอนคือความสะดวกสบาย ความรวดเร็วปลอดภัย ความมั่นใจในการได้รับบริการ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้รับบริการคาดหวังนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของลูกค้าผู้รับบริการที่มีความต้องการสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน        

          ❁ ลูกค้า VVIP (Very Very Important person) มีความต้องการการดูแลพิเศษมากกว่าลูกค้า VIP (Very Important person)ต้องได้รับการดูแล ต้อนรับอย่างดีเยี่ยมในพื้นที่เฉพาะ มีความสะดวกครบครันในทุกจุด รวมถึงการดูแลเรื่องการปกปิดข้อมูลเฉพาะ คำนึงถึงการดูแลเรื่องมาตรการป้องกันความปลอดภัยสูงสุดมากกว่าลูกค้าทั่วไป

          ❁ ลูกค้า VIP มีความต้องการการดูแลพิเศษมากกว่าลูกค้าธรรมดาทั่วไป ควรได้รับการดูแลให้บริการที่ครบถ้วนอย่างดี ผู้ให้บริการมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ได้รับการช่วยเหลือเต็มที่เต็มกำลังจากผู้ให้บริการ

          ❁ ลูกค้าทั่วไป (General Customer) ส่วนมากต้องการบริการขั้นพื้นฐานให้ครบถ้วน ไม่ได้คาดหวังสูงมากเกินไปเมื่อเทียบกับลูกค้ากลุ่ม VIP 

    โดยสรุปภาพรวมเรื่องความต้องการและความคาดหวังลูกค้าผู้รับบริการ (Aday and Andersen 1975)

     โดยรวมมี 6 ข้อ  สามารถอธิบายแต่ละข้อ ดังนี้

     1) ความสะดวกที่ได้รับจากการบริการ (Convenience)

     หมายถึง…

  • มีระยะเวลารอรับบริการและรอคอยกิจกรรมการให้บริการไม่นาน
  • หน่วยงานที่ให้บริการมีความสะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบ
  • สถานที่ให้บริการสะดวก มีความปลอดภัย

     2) การประสานงานการบริการ (Coordination)

     หมายถึง…

  • ได้รับบริการทุกขั้นตอนครบถ้วน ไม่เกิดข้อผิดพลาดกระทั่งจบการให้บริการ
  • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติดูแลผู้รับบริการทุกคนอย่างให้เกียรติ
  • มีการประสานงาน ส่งต่อการบริการในทุกจุด 

     3) อัธยาศัยและความสนใจ (Courtesy)

     หมายถึง…

  • กิริยาท่าทางมีความอ่อนโยน นอบน้อม ยินดีช่วยเหลือ
  • มีความเอาใจใส่ตลอดระยะเวลาที่ให้บริการอย่างเท่าเทียม
  • สีหน้า สายตาแสดงถึงความพร้อมในการให้บริการ

     4) ข้อมูลที่ได้รับจากการให้บริการ (Information)

     หมายถึง…

  • ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการรับบริการได้รับนถูกต้อง ไม่มีปิดบังซ่อนเร้นข้อมูลอันส่งผลกระทบให้ผู้รับบริการเสียสิทธิ์หรือเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
  • ข้อมูลและคำแนะนำเฉพาะด้านที่รับบริการทั้งก่อน-หลังบริการครบถ้วน
  • มีช่องทางการช่วยเหลือการบริการหลังการขาย 

     5) คุณภาพของบริการ (Quality of service)

     หมายถึง…

  • ผู้ให้บริการมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในหน้าที่งานอย่างมืออาชีพ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • การบริการได้รับความพึงพอใจระดับมาตรฐานและเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดทุกครั้ง
  • การบริการอยู่ในค่าเกณฑ์ดีทุกครั้งแม้เปลี่ยนคน เปลี่ยนผู้ให้บริการ

     6) ราคาค่าใช้จ่าย (Cost)

     หมายถึง…

  • การคิดประเมินราคาค่าใช้จ่ายสมเหตุผล กับสินค้าหรือบริการที่ใช้ไป
  • มีป้ายหรือใบแจ้งราคาสินค้า ค่าบริการที่ชัดเจน
  • ราคาค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการรายอื่น ในขนาดสินค้า จำนวนรายการ การบริการ เหมาะสมไม่สูงเกินไป

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


ฝึกพูดระดับเสียงหนึ่งในงานบริการ

เสียงหนึ่ง เสียงสองคืออะไร ? หากได้ยินคนเอ่ยถึงคุณทราบหรือไม่?? น้ำเสียงที่สนทนาพูดคุยอยู่นั้นคือน้ำเสียงระดับใด ซึ่งการใช้น้ำเสียงเพื่อการสนทนากับผู้รับบริการต่างจากการพูดคุยทั่วไป

เปรียบเทียบการสื่อสารแบบทั่วไป และ AIDET Plus

เอเด็ต (AIDET) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการวางกรอบการสื่อสารสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มHealthcare เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้แบบสองทาง (Two way communications)

จิตวิทยาบริการและประโยชน์การเรียนรู้

จิตวิทยาการบริการ (Service Psychology) ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ด้านวิชาการเพื่อการทำงาน แต่หมายความรวมถึงการมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการที่หลากหลายประกอบไปด้วยศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ให้บริการพึงเรียนรู้

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare

การถ่ายทอดลำดับการสื่อสารเชิงลึกงาน Healthcare (In-Depth communications in Healthcare) เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้รูปแบบการสื่อสารแบบ AIDET Plus+ ในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยและครอบครัว

ความแตกต่าง AIDET & AIDET Plus

ความแตกต่างระหว่างรูปแบบการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์แบบเดิม AIDET และแบบใหม่ AIDET Plus เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร สามารถขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาบุคลากร

หลักสูตรการสื่อสาร AIDET Plus communications สำหรับบุคลากรทางการแพทย์

ยุค MK6.0 การจัดอบรมสำหรับบุคลากรสายงานสุขภาพทุกตำแหน่งในงานด้าน Healthcare เปลี่ยนไปในรูปแบบเน้นการสื่อสาร(Communication)กับผู้รับบริการให้มากขึ้น มีการเชื่อมโยงทั้งด้านการสัมผัสด้วยตาและรับรู้ด้วยใจ