หน้าแรก หน้ารวมบทความ ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan


ผู้เขียน : อาจารย์ วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์   วันที่ :   จำนวนผู้เข้าชม 8850 คน

กด Like กด Share บทความให้เพื่อน

Facebook Twitter Line

     ผู้เขียนขอหยิบยกตัวอย่างการกำหนดตัวชี้วัดKPIจากโครงสร้างองค์กร เพื่อเป็นแนวทางการทำ Dictionary Index  2 ตำแหน่งงาน ในระดับบริหารจัดการ คือ

     1. ผู้จัดการแผนกโปรเจค (Project Department Manager)

     2. ผู้จัดการแผนกขาย (Sales Department Manager) 

     ทั้ง 2 ตำแหน่งนี้มีใบ JD (Job Description)หน้าที่งานหลักโดยทั่วไป คือ

     1) วางแผนการใช้งบประมาณของแผนกให้อยู่ในเกณฑ์แต่ละปีตามตัวเลขที่บัญชีกำหนดร่วมกับฝ่ายบริหาร

     2) ควบคุมทุกขั้นตอน ทุกกระบวนการทำงานในแผนก ให้เป็นไปตามนโยบายการบริหารงานของบริษัท

     3) ตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความรวดเร็วทุกกระบวนการทำงาน ไม่เกิดข้อผิดพลาด

     4) ให้คำปรึกษาและติดตามผู้ใต้บังคับบัญชาในการปฏิบัติงานตามระบบงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ตัวอย่าง KPI

 (อย่างง่าย) ทั้ง 2 ตำแหน่ง

แผนก

ตำแหน่ง

ตัวชี้วัด KPI ตามหลัก BSC

สูตรที่ใช้

Baseline

Project

Department Manager

1.%การควบคุมงบประมาณในฝ่ายเป็นไปตามแผน

งบที่ทำได้จริง X 100

งบทั้งหมด

บัญชี

2. % การส่งมอบงานทันเวลาตามใบสัญญา

ทุกโปรเจคที่ทำได้ X 100

โปรเจคงานทั้งหมด

Program

Project

3. ระดับความสำเร็จการติดตามทุกโปรเจคระดับความสำเร็จที่ทำได้จริง (แบ่ง 5 ระดับ)

Master P. - Project

4. %ข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงานทั้งหมดในฝ่าย

 (มีผลต่อการซื้อเพิ่ม ทั้งวัสดุหรืออุปกรณ์ การเพิ่มวันทำงาน)

จน.โปรเจคที่ผิดพลาด X 100

จำนวนโปรเจคงานทั้งหมด

จัดซื้อ & บุคคล

---------------------------------------------------

Sales

Department Manager

5.%การควบคุมงบประมาณในฝ่ายเป็นไปตามแผน

งบที่ทำได้จริง  X 100

งบทั้งหมด

บัญชี

6.%รายได้รวมฝ่ายเทียบปีที่ผ่านมา

รายได้รวมจริงในปีนี้   X 100

รายได้รวมปีที่แล้ว

บัญชีรายได้

7.%ความสำเร็จติดตามการวางมัดจำลูกค้าทุกรายทันตามกำหนด

จน.ลูกค้าติดตามได้จริง   X 100  

จน.ลูกค้ารับใบข้อเสนอทั้งหมด

บัญชีรายได้

8.  %การ visit ลูกค้ากลุ่ม Key Business

จน.Visit จริง   X 100

จน.ลูกค้ากลุ่ม Key Business

Master P. - Project

     ซึ่งจากตัวอย่าง 2 ตำแหน่งงานด้านบนนี้ ในผังโครงสร้างองค์กร (Organization Chart) ระดับผู้จัดการแผนกอยู่ในระดับสูงสุดรองลงมาจาก CEO  

     โดยแบ่งระดับตามตำแหน่งงาน (Level) ทั้งหมดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม

ตำแหน่ง

ระดับ

ระดับบริหารสูงสุดCEO

Supreme

ระดับบริหารจัดการManager -  Executive ManagerM1-M3
ระดับหัวหน้างานSenior - Supervisor

S5-S7

ระดับปฏิบัติงานStaff

S1-S4

ระดับบริการทั่วไปTrainee – Practice 

L1-L2

แบ่งเป็น 5 กลุ่มการปฏิบัติงาน

     จากข้อมูลตารางระดับ (Level) ทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ อยู่ในระดับบริหารจัดการ โดยมีหน้าที่สูงสุดในแผนก รับผิดชอบดูแลความเรียบร้อยในแผนกทั้งผู้ใต้บังคับบัญชาและความรับผิดชอบในแผนกทั้งหมด ดังนั้น เมื่อมีการวัดประเมินผลในแง่ของงบประมาณใช้จ่ายในแผนก ความถูกต้อง ความผิดพลาดทั้งหมดของลูกน้อง ถือเป็นตัวชี้วัดที่ผู้จัดการนำมาเป็นตัวชี้วัดตนเองในการบริหารจัดการบุคลากรภายในแผนกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้กำหนด KP Iให้กลุ่มระดับบริหารจัดการต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่ากลุ่มนี้นั้นเอง ไม่ใช่กำหนดกันเองตามความพึงพอใจ 

   ดังนั้น การวัดผลการบริหารจัดการของระดับบริหารวัดแบบ BSC มองทั้ง 4 มิติคือ 

  1. วัดมุมมองทางการเงิน (Financial Perspective) 
  2. วัดมุมมองการบริหารจัดการกระบวนการทำงาน (Internal Process Perspective)
  3. วัดมุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective)
  4. วัดมุมมองด้านพัฒนาบุคลากร (Learning & Growth Perspective)

     ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของผู้บริหารแต่ละแผนกในหน้าที่งานที่แตกต่างกันไป

     ส่วนระดับพนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีตัวชี้วัด KPIs ตามใบกำหนดหน้าที่งานของตนเองหรือมีตัวชี้วัดร่วม (CPI) ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันในแผนกอื่นๆ บางที่เรียก Joint KPI

     ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก KPI (Key Performance Indicators)  เป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ (Outcome) จากการปฏิบัติงานของหน่วยงาน แผนกงานและบุคลากรผู้รับผิดชอบรายบุคคล โดยผ่านกระบวนการเก็บข้อมูลสถิติอย่างเป็นรูปธรรม (Intangible) และเชื่อถือได้  หากพิจารณานำผลสรุปที่เกิดขึ้นปลายปีมาจัดแบ่งระดับความสามารถตามผลงาน (Productivity) และนำช่องว่างความสามารถ (GAP) ที่แตกต่างต่อยอดคนเก่ง พัฒนาคุณลักษณะคนอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ (Action Plan) ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ มอบหมายผู้รับผิดชอบหลักที่ชัดเจน หัวหน้าทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน สำคัญที่สุดคือหัวหน้าทุกคนในองค์กรมองเห็นจุดหมายในทิศทางเดียวกันกับ CEO   

     จากการทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา (Consultant) ด้านระบบการประเมินผลในองค์กรที่ผ่านมา เห็นหลายมิติในแต่ละองค์กรที่จัดจ้างเฉพาะให้ที่ปรึกษาช่วยอบรมและจัดเตรียมเฉพาะข้อมูล KPI(Prepare-KPI)  เพื่อให้บุคลากรในองค์กรนำไปวางแผนดำเนินการ (Action Plan) ต่อเนื่องเอง การจัดทำระยะอื่นๆด้วยตนเอง ซึ่งมีข้อดีตรงที่ช่วยประหยัดงบประมาณในการว่าจ้างที่ปรึกษาในขั้น Action Plan & Monitoring ตลอดปี แต่หลายองค์กรพบว่าเมื่อที่ปรึกษาจัดเตรียมข้อมูลให้ดำเนินการต่อเอง กลับเกิดปัญหาภาวะคอขวด กระจุกข้อมูลทุกสิ่งอยู่ที่ผู้รับผิดชอบ ไม่มีการกระจายงาน การมอบหมายงานต่อ อันด้วยสาเหตุหลายประเด็น เช่น

  • ผู้รับผิดชอบประสานงานต่อไม่ถูก ไม่กล้าถาม
  • ผู้รับผิดชอบมีความอาวุโสน้อย ไม่กล้าโต้แย้งแผนกอื่น
  • เกิดข้อขัดแย้งจากบางกลุ่มหัวหน้างานที่ไม่ต้องการถูกวัดผลงาน
  • ประสบการณ์ด้านองค์ความรู้ในงานของทุกตำแหน่งงานมีน้อย

   เป็นต้น…

     การจัดทำ KPIในองค์กรไม่ใช่เรื่องยาก แต่ยากยิ่งกว่าคือผู้รับผิดชอบขับเคลื่อนKPIในองค์กรให้เกิดการใช้จริงเพื่อการพัฒนาต่อยอด ในการมอบหมายผู้รับผิดชอบดูแลจัดทำ KPI ผู้บริหารจำเป็นต้องเลือกบุคคลภายในที่มีความอาวุโสทางความรู้ เข้าใจหน้าที่งานจริงทุกตำแหน่ง ขยันเรียนรู้ ยืดหยุ่น แก้ปัญหาเป็น และมีภาวะผู้นำที่ดีเลิศเข้ามาทำหน้าที่นี้

     ระบบประเมินผลจะสำเร็จเป็นไปตามเป้าประสงค์แน่นอนค่ะ  … 

วีย์รฎา กวิณรวีบริรักษ์


E-Mail : [email protected]

วันที่ : 31 พฤษภาคม 2567

จำนวนผู้เข้าชม 8850 คน

กรุณากดถูกใจ และ เพิ่มเพื่อน Line

บทความที่เกี่ยวข้อง


กำหนดตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD

ธุรกิจหรือกิจการ SME ขนาดเล็กไม่มีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งาน อาจไม่สะดวกใช้การ ประเมินผลแบบ BSC เทคนิคง่ายๆ ในการกำหนดตัวชี้วัดผล สำหรับผู้จัดทำ KPI มือใหม่ กำหนด ตัวชี้วัด KPI แบบไม่มี JD ทำอย่างไร ?

Feedback 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด KPI

คุณสมบัติหัวหน้างานที่ดีไม่เพียงแต่จะบริหารทีมงานได้เท่านั้น การให้ฟีดแบ็ก (Feedback) ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทีมงาน สร้างคนเก่งในองค์กร (Talent people) ลดอัตราการลาออก (Turnover rate)

อบรม ESB & AIDET Plus แก้ปัญหาการบริการและการสื่อสาร ?

อบรมพฤติกรรมบริการ (ESB) ไปแล้ว การเรียนรู้หลักสูตรเรื่อง AIDET Communications จำเป็นหรือไม่ ? AIDET เนื้อหาการเรียนรู้เรื่องอะไร ? นี่คือคำถามที่ผู้จัดอบรมในคลินิก และโรงพยาบาลหลายแห่ง

ตัวอย่างตัวชี้วัด KPI ตามตำแหน่ง & ปัญหาระยะ Action Plan

ระบบประเมินผล KPI ช่วยทำให้องค์กรคัดเลือกคนเก่งโดยอัตโนมัติ คุมงบประมาณให้อยู่ในกรอบและเพิ่มกลยุทธ์ในการแข่งขัน หากวางระบบการดำเนินการ(Action Plan)ที่ดี ผู้บริหารสูงสุดเห็นความสำคัญ

ประโยชน์การสื่อสารแบบ AIDET

ในช่วงที่ผู้เขียนได้ฝึกงานและทำวิจัยหัวข้อเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลต่างประเทศ ได้สังเกต รวมถึงศึกษาวัฒนธรรมการดูแลผู้รับบริการของบุคลากรทางการแพทย์หลายกลุ่ม ทั้งการปฏิสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงาน

เทคนิคการพูดเพิ่มภาวะผู้นำ

คำพูดเป็นปราการด่านแรกแห่งความสำเร็จในอาชีพ เป็นการแสดงออกด้วยวจนภาษาดึงดูดผู้คนเข้ามาสนใจหรือผลักออกไปจากจากวงโคจรชีวิต โดยเฉพาะงานที่ให้บริการทั้งทางแบบออนไลน์ ออฟไลน์ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะการพูด